The Line สู่ The Circle!

 

The Line สู่ The Circle!
เป็นประเด็นที่นักจัยนำเสนอก็อย่างว่าแล้วนะครับถ้าประเทศที่มีเงินเขาอยากจะสร้างอะไรแล้วเขาก็จะสร้างแต่ต้องหันกลับไปดูด้วยว่าผลเสียและผลดีอย่างไหนจะมีมากกว่ากันระหว่าง
The Lineการสร้างเมืองที่เป็นเส้นตรง
The Circle การสร้างเมืองที่เป็นวงกลม
อนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงไปไม่รู้สิครับอย่างไหนจะดีกว่ากัน


จาก The Line สู่ The Circle! นักวิจัยแนะนำให้ซาอุดิอาระเบียเปลี่ยนจากการสร้างเมืองเส้นตรงเป็นวงกลมเพื่อลดระยะทางการสัญจร


เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศซาอุดิอาระเบียได้เผยโฉม The Line แผนเมืองใหม่แห่งอนาคตที่มีลักษณะเป็นเมืองแนวตั้งแบบเส้นตรงยาวถึง 170 กิโลเมตรเพื่อรองรับจำนวนประชากร 9 ล้านคน โดยในแผนมีการระบุว่าจะไม่มีการใช้รถยนต์ในเขตเมืองแต่จะใช้เป็นรถไฟความเร็วสูงที่ใช้เวลาเพียง 20 นาทีในการเดินทาง


ผู้คนต่างตั้งข้อกังขามากมายเกี่ยวกับโครงการนี้ว่าจะทำได้จริงหรือไม่ คุณ Rafael Prieto-Curiel และ Daniel Kondor นักวิจัยจาก Complexity Science Hub Vienna ก็ได้ตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่าการเดินทางในเมืองน่าจะลำบากมากกว่าคำที่กล่าวอ้างไว้มาก โดยทั้งสองได้เสนอให้ปรับจากเมืองเส้นตรงเป็นวงกลมแทนเพื่อลดความห่างไกลระหว่างผู้คนในเมือง


นักวิจัยทั้งสองได้ทำการจำลองรูปแบบการเดินทางใน The Line แล้วพบว่า หากในระยะทาง 170 กิโลเมตร มีประชากรรวมกันอยู่ 9 ล้านคนแล้ว นั่นแปลว่าในแต่ละ 1 กิโลเมตรจะมีคนอยู่ประมาณ 53,000 คน ดังนั้น ถ้าเราสุ่มเลือกคนมา 2 คนจากระยะทางทั้งหมด 170 กิโลเมตร เราจะพบว่าคนสองคนนั้นจะอยู่ห่างกันเฉลี่ยถึง 57 กิโลเมตร

กล่าวโดยง่ายคือ คนในสังคม และสถานที่แต่ละสถานที่จะอยู่ห่างไกลกันมากๆ การจะเดินทางมาพบปะกันจึงเป็นเรื่องยาก ผู้คนก็จะสัญจรไปมากันน้อยลงเพราะทำได้ลำบาก

นอกจากนี้ นักวิจัยทั้งสองกล่าวว่าอาจต้องมีสถานีรถไฟมากถึง 86 สถานีเพื่อรองรับการสัญจรภายใน The Line ยิ่งมีสถานีเยอะ รถไฟก็ยิ่งต้องจอดบ่อยขึ้น ทำให้กว่าจะไปถึงแต่ละสถานีก็ยิ่งช้าขึ้นไปอีก 


โดยอาจต้องเผื่อเวลาถึง 1 ชั่วโมงสำหรับการเดินทาง ทั้งต้องเสียเวลาในการเดินมาสถานี เวลาที่ต้องรอรถไฟ และเวลาที่รถไฟหยุดในแต่ละสถานี เรียกได้ว่าใช้เวลาเดินทางนานกว่าในเมืองใหญ่อื่นๆ อย่างโซลอีก

ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองจึงได้เสนอโมเดลใหม่ คือ The Circle เมืองในรูปแบบวงกลมที่มีรัศมียาว 3.3 กิโลเมตร โดยจากการคำนวณพบว่าในระยะทาง 170 กิโลเมตรคนส่วนใหญ่จะอยู่ห่างกันเฉลี่ยเพียง 2.9 กิโลเมตร ก็คืออยู่ใกล้กันและสามารถพบกันได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

เมื่อระยะห่างของแต่ละสถานที่ลดลง พลังงานที่ต้องใช้ไปกับรถไฟความเร็วสูงก็จะลดลงเช่นกัน พอสถานที่อยู่ใกล้กันมากขึ้น ผู้คนก็ยังสามารถเลือกเดินหรือขี่จักรยานเพื่อการสัญจรแทนได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม โครงการ The Line ได้เริ่มดำเนินการสร้างไปแล้วในปี 2022 ท่ามกลางข้อกังขามากมาย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2030 ตัวโครงการจะสร้างสำเร็จหรือมีการเปลี่ยนแผนเป็น The Circle หรือไม่ คงต้องรอดูกันต่อไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติความเป็นมาของเครื่องล้างจาน ที่มีมากว่า 125 ปี

มิจฉาชีพชายที่สวมรอยเป็นหมอในโรงพยาบาลจนกลายเป็นดาว TikTok

ภัยพิบัติแห่งสนามบิน Tenerife สายการบิน: KLM Royal Dutch Airlines และ Pan American World Airways