บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2020

หลุมอุกกาบาตล้างเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ ช่วยไขปริศนากำเนิดชีวิต

รูปภาพ
หลุมอุกกาบาตชิกซูลุบครึ่งหนึ่งจมอยู่ในทะเลและอีกครึ่งหนึ่งถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินของคาบสมุทรยูคาตันในเม็กซิโก ค้นหา Custom Search นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าระบบน้ำร้อนในชั้นหินที่เกิดจากการชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ สามารถใช้เป็นต้นแบบศึกษากระบวนการกำเนิดชีวิตแรกบนโลกได้ 👉นักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันในสหรัฐฯ กำลังศึกษาชั้นหินที่ขุดเจาะได้จากหลุมอุกกาบาตชิกซูลุบ (Chicxulub) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งเกิดจากการชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ถึง 15 กิโลเมตร เมื่อ 66 ล้านปีก่อน และทำให้สิ่งมีชีวิต 75% บนโลกรวมทั้งไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยเชื่อว่าระบบน้ำร้อนในชั้นหินของหลุมอุกกาบาตนี้จะสามารถใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาถึงกำเนิดสิ่งมีชีวิตแรกบนโลกได้ Image copyrig คำบรรยายภาพ ตัวอย่างแกนกลางของชั้นหินที่ขุดเจาะมาจากขอบวงแหวนของหลุมอุกกาบาตชิก ซูลุบ ดร. เดวิด คิง หนึ่งในคณะผู้ค้นพบตำแหน่งของหลุมอุกกาบาติชิกซูลุบ และนักวิจัยประจำสถาบันศึกษาดวงจันทร์และดาวเคราะห์ (LPI)ที่เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส บอกว่าการชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่

จดหมายเหตุยุคออตโตมันยืนยัน มีคนตายเพราะอุกกาบาตตกใส่จริง

รูปภาพ
ค้นหา Custom Search 👉กล่าวกันว่าความเป็นไปได้ที่อุกกาบาตจากนอกโลกจะตกใส่ใครบางคนและทำให้ถึงกับต้องเสียชีวิตนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากเพียง 1 ใน 250,000 เท่านั้น และแม้เราจะได้ยินเรื่องเล่าขานในลักษณะนี้กันมาบ้าง แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือมาพิสูจน์ยืนยันได้ว่า เหตุการณ์ประหลาดดังกล่าวเคยเกิดขึ้นจริง มาก่อน ล่าสุดทีมนักวิจัยจากตุรกีและองค์การนาซาของสหรัฐฯ เผยแพร่ผลการศึกษาทางประวัติศาสตร์ในวารสาร Meteoritics & Planetary Sciences โดยระบุว่าได้ค้นพบหลักฐานในหอจดหมายเหตุแห่งรัฐประจำทำเนียบประธานาธิบดีตุรกี เป็นเอกสารราชการของจักรวรรดิออตโตมัน 3 ฉบับ บันทึกเกี่ยวกับเหตุอุกกาบาตตกตรงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองสุไลมานิยาห์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อราว 130 ปีมาแล้ว 👉จดหมายเหตุดังกล่าวระบุว่า ในวันที่ 22 สิงหาคม 1888 เวลา 20.30 น. มีลูกไฟดวงใหญ่ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า หลังจากนั้นมีชิ้นส่วนของดาวตกเทลงมา "เหมือนห่าฝน" เป็นเวลาราวสิบนาที ทำให้ช

พบโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อีก 6 ชนิดในค้างคาวเมียนมา

รูปภาพ
พบโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่  อีก 6 ชนิดในค้างคาวเมียนมา ค้นหา Custom Search นักวิจัยค้นพบเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อีกหกชนิดในค้างคาวที่ประเทศเมียนมา ในขณะที่กำลังศึกษาว่าโรคร้ายนี้สามารถถ่ายทอดจากสัตว์สู่มนุษย์ได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โคโรนาไวรัสทั้งหกชนิดที่พบในค้างคาวเมียนมานั้น ยังไม่เคยถูกค้นพบที่ไหนในโลก แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่กำลังส่งผลกระทบต่อหลายส่วนของโลกอยู่ในขณะนี้ การวิจัยดังกล่าวนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากโครงการ Global Health ของ Smithsonian ในกรุงวอชิงตัน  ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร PLOS ONE ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) กล่าวว่า โคโรนาไวรัสเป็นไวรัสสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในคนและสัตว์หลายชนิด และว่า เป็นเรื่องยากที่โคโรนาไวรัสในสัตว์จะถ่ายทอดไปสู่คนแล้วแพร่กระจายในหมู่มนุษย์ อย่างไรก็ตาม มีการระบาดครั้งใหญ่ของโรคที่เกิดจากโคโรนาไวรัสในมนุษย์แล้วหลายครั้ง และค้างคาวก็เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดเหล่านั้น ตัวอ

นักวิจัยค้นพบว่าสัตว์ทะเลไร้กระดูกสันหลังยุคแครมเบรียนมีโครงสร้างระบบหลอดเลือดและหัวใจแบบเดียวกับที่พบในสัตว์ยุคปัจจุบัน

รูปภาพ
ค้นหา Custom Search ทีมนักวิจัยนานาชาติได้ค้นพบซากฟอสซิลของสัตว์ทะเลรูปร่างคล้ายกุ้งอายุกว่า 500 ล้านปีโดยฟอสซิลดังกล่าวเเสดงให้เห็นร่องรอยอวัยวะภายในรวมทั้งหัวใจและระบบหลอดเลือดของสัตว์เก่าแก่นี้ด้วย มณฑลยูนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเลื่องชื่อในฐานะเเหล่งซากฟอสซิลที่อุดมสมบูรณ์ แต่ทีมนักวิจัยนานาชาติทีมนี้ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะค้นพบฟอสซิ่ลที่มีความละเอียดชิ้นนี้เพราะคงร่องรอยของอวัยวะภายในของสัตว์ที่มีลักษณะเหมือนกุ้ง อายุราว 520 ล้านปีเอาไว้ได้อย่างดี คุณ Peiyun Cong นักวิจัยแห่ง Yunan Laboratory for Paleobiology ได้ขุดค้นพบซากฟิสซิ่ลที่ว่านี้ และ คุณ Nicholas Strausfeld นักประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย University of Arizona ซึ่งเป็นสมาชิกทีมวิจัยนานาชาตินี้ ชี้ว่า ฟอสซิลชิ้นนี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นภาพรายละเอียดของหัวใจและหลอดเลือดของสัตว์ดังกล่าว คุณ Strausfeld กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าซากฟอสซิลชิ้นนี้เป็นร่องรอยซากสัตว์ที่สวยงามมาก มีความสมมาตรสองด้าน แสดงให้เห็นด้านหลังขอ

นักโบราณฯ พบแอ่งบูชายัญเด็ก ถูกบูชายัญนับร้อยในทีเดียว-ครั้งใหญ่สุดในปวศ

รูปภาพ
ค้นหา Custom Search เมื่อวันที่ 20เมษายน 2020 National Geographic  ได้เปิดเผยเรื่องราวของคณะนักสำรวจและนักโบราณคดี ที่ได้ขุดค้นพบศพเด็กราวๆ 140 ศพ อายุระหว่าง 5-14 ปี จากการตรวจสอบเบื้องต้นเชื่อว่า ศพของเด็กๆเหล่านี้คือเหยื่อของพิธีกรรมบูชายัญหมู่ในอดีต เมื่อประมาณ 550 ปีก่อน โดยขุดค้นพบ ณ ที่แห่งหนึ่ง ประเทศเปรู (ใกล้เมืองทรูฮีโย เมืองชายฝั่งด้านเหนือของประเทศ) นอกจากนี้ข้างๆโครงกระดูกเด็ก ยังมีร่างของตัวลามะ และยามา กว่า 200 ตัว ซึ่งทุกตัวมีอายุไม่เกิน 18 เดือน ถูกฆ่าบูชายัญเช่นกัน เหยื่อมีรอยตัดกระดูก กระดูกสันอก กระดูกตรงกลางหน้าอก กระดูกซี่โครงหลายซี่ รวมถึงมีสิ่งที่บ่งบอกว่าหัวใจของเด็กๆ ถูกควักออกมา และเด็กทุกคนจะต้องถูกทาหน้าให้เป็นสีแดง และเหยื่อผู้นั้นจะต้องเป็นคนแข็งแรงและสุขภาพดี ฮาเกน เคลาส์ นักมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยจอร์จเมสัน เปิดเผยกับ National Geographic  ว่าการบูชายัญผู้ใหญ่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไปในยุคสมัยโบราณ ซึ่งสาเหตุที่เด็กๆต้องถูกบูชายัญแทนที่จะเป็นผู้ใหญ่ก็เพ

พบสิ่งมีชีวิตไม่ทราบชนิด ความยาวลำตัวกว่า 47 เมตร ณ หุบเขาใต้ทะเลลึกที่ออสเตรเลีย

รูปภาพ
ค้นหา Custom Search วันที่ 20เมษายน 2020 ทีมนักวิจัยจากสถาบัน Ningaloo Canyons Expedition ได้เผยแพร่คลิปของสิ่งมีชีวิตไม่ทราบชนิด ที่มีความยาวลำตัวกว่า 47 เมตร ล่องลอยอย่างโดดเด่นในบริเวณแนวปะการัง Ningaloo Reef ซึ่งการค้นพบเกิดขึ้นระหว่างการออกสำรวจบริเวณหุบเขาใต้ทะเลของแนวปะการังนิงกาลู ที่ระดับความลึกประมาณ 630 เมตร โดยพื้นที่แห่งนี้มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่มานักต่อนักแล้ว (ครั้งนี้ใช้เวลาในการสำรวจนานกว่า 180 ชั่วโมง) โดยนักวิจัยสันนิษฐานว่า สิ่งมีชีวิตสุดแปลกชนิดนี้น่าจะเป็น Siphonosphore Apolemia หรือสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการรวมตัวของสัตว์ตัวจิ๋วหลายพันตัวเกาะกลุ่มอาศัยอยู่ด้วยกัน จนกลายเป็นเหมือนบ่วงที่ใช้ดักล่าสัตว์ เพราะผิวหนังภายนอกของพวกมันแต่ละตัวประกอบไปด้วยเข็มพิษทั้งสิ้น และด้วยความที่พวกมันตัวเล็กมาก ๆ จึงทำให้ดูเหมือนสัตว์ตัวยาวเพียงตัวเดียว แต่แท้จริงแล้วมันคือการต่อกลุ่มกันนั่นเอง (นี่เป็นเพียงสันนิษฐานนะครับ นักวิจัยยังไม่ฟันธง) “หากวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลาง มันอาจมีความ

นอกจากฝุ่นละอองขนาดเล็กละเอียด PM2.5 แล้ว บรรยากาศโลกมีฝุ่นหยาบในปริมาณมากกว่าที่คาดไว้ถึง 4 เท่า

รูปภาพ
นอกจากฝุ่นละอองขนาดเล็กละเอียด PM2.5 แล้ว บรรยากาศโลกมีฝุ่นหยาบในปริมาณมากกว่าที่คาดไว้ถึง 4 เท่า พายุฝุ่นในชั้นบรรยากาศโลกเหนือทะเลทรายซาฮารา ภาพถ่ายจากมุมมองของสถานีอวกาศนานาชาติ Custom Search นอกจากฝุ่นละอองขนาดเล็กละเอียด PM2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนเราแล้ว ล่าสุดยังมีผลการศึกษาที่ชี้ว่า อนุภาคของฝุ่นหยาบชนิดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ไมครอนขึ้นไปนั้น มีอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกในปริมาณสูงเหนือความคาดหมายถึง 4 เท่า และมีแนวโน้มจะทำให้ภาวะโลกร้อนรวมทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รุนแรงขึ้นไปอีก ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแอนเจลิส (UCLA) ของสหรัฐฯ ตีพิมพ์รายงานวิจัยข้างต้นลงในวารสาร Science Advances ระบุว่าผลวิเคราะห์ข้อมูลสังเกตการณ์ปริมาณอนุภาคฝุ่นในอากาศจากหลายสิบประเทศทั่วโลก พบว่าในชั้นบรรยากาศโดยรวมมีฝุ่นหยาบอยู่ราว 17 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 4 ล้านตันมาก ฝุ่นหยาบหรือฝุ่น PM10 มีทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ เช่นกระแสลมพัดฝุ่นดินหรือเถ้าภูเขาไฟ

พบฟอสซิลอิคาเรียวาริโอเทียบรรพบุรุษแรกสุดของสัตว์เกือบทุกชนิดในปัจจุบัน

รูปภาพ
ค้นพบฟอสซิล “อิคาเรียวาริโอเทีย” บรรพบุรุษแรกสุดของสัตว์เกือบทุกชนิดในปัจจุบัน ค้นหา Custom Search นักบรรพชีวินวิทยา ค้นพบฟอสซิลของสิ่งที่อาจนับได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของ “สัตว์ตัวแรกของโลก” ในประเทศออสเตรเลียตามรายงานของสำนักข่าว ScienceAlert เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2020 บรรพบุรุษของสัตว์ในยุคใหม่ตัวนี้ มีชื่อว่า อิคาเรียวาริโอเทีย  (Ikaria wariootia) เป็นสิ่งมีชีวิตโบราณรูปร่างคล้ายหยดน้ำ ที่มีขนาดเท่ากับเม็ดข้าว ถึงแม้ว่าจากรูปฟอสซิลที่ค้นพบมันจะดูไม่เหมือนสิ่งมีชีวิต ออกจะคล้ายกับรอยนูนบนหินทั่ว ๆ ไปซะด้วยซ้ำ แต่นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่านี่คือตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตแบบ ไบลาทีเรีย (bilaterians) ไบลาทีเรียคือสิ่งมีชีวิตที่มีสมมาตรด้านข้าง สามารถบอกได้ว่ามันมีด้านหน้า ด้านหลัง บน ล่าง ซ้ายและขวา หรือจำแนกอย่างที่สุดก็คือมันต้องมีปากและมีรูขับถ่าย ซึ่งเป็นสัตว์ส่วนใหญ่ที่เรารู้จักกันดี ส่วนสัตว์ที่ไม่ใช่ไบลาทีเรียก็จะเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแบบสมมาตรรัศมี เช่นแมงกะพรุน ฟองน้ำ และไนดา

ไขปริศนาความลับของอาหารรู้หรือไม่เหตุใดน้ำผึ้งจึงไม่มีวันหมดอายุ

รูปภาพ
ไขปริศนาความลับของอาหาร – รู้หรือไม่ ? เหตุใดน้ำผึ้งจึงไม่มีวันหมดอายุ ค้นหา Custom Search คุณเคยสงสัยไหมครับว่า เหตุใดน้ำผึ้งที่เก็บไว้ในครัวสามารถเก็บได้เป็นปี ๆ โดยไม่เกิดการเน่าเสีย ? และในวันนี้ผมมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์สำหรับเรื่องดังกล่าว มาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันครับ อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Smithsonian Magazine ประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2013 เป็นคำอธิบายจากคุณอามินา แฮร์ริส (Amina Harris) จากศูนย์น้ำผึ้งและละอองเกสร สถาบันมอนเดวี มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เผยว่า น้ำผึ้งมีคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการที่ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเจริญเติบโตอยู่ จึงไม่เกิดการเน่าเสียแม้เก็บไว้เป็นเวลานาน โดยคุณสมบัติทั้ง 3 ประกอบด้วย ความหวาน, ความแห้ง และความเป็นกรดครับ สำหรับคุณสมบัติ 2 ประการแรก เนื่องจากน้ำผึ้งเป็นสารที่มีปริมาณความชื้นต่ำมาก ส่วนประกอบของน้ำผึ้งส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลและแทบจะไม่มีโมเลกุลของน้ำแฝงอยู่เลย ด้วยคุณสมบัติเพียงเท่านี้คุณคงจะนึกออกแล้วว่าแบคทีเรียหน้าไหนก็ไม่อยากเข้ามาอยู่ใ

พบ สวนปะการังในร่องลึกก้นสมุทร แทสมัน-ฮิวออน ที่ออสเตรเลีย

รูปภาพ
ค้นหา Custom Search พบ “สวนปะการัง” ในร่องลึกก้นสมุทร แทสมัน-ฮิวออน ที่ออสเตรเลีย “สวนปะการังใต้ทะเล” หรือ “underwater garden” ที่เเสนสวยงามแห่งนี้ ค้นพบโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลีย และตั้งอยู่ลึกลงไปใต้ทะเลถึง 2 กิโลเมตร นี่เป็นการค้นพบขณะที่ทีมงานออกไปสำรวจท้องทะเลเพื่อการวิจัยนอกชายฝั่งทางใต้ของแทสมาเนีย ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กล้องถ่ายภาพพิเศษเพื่อศึกษาภูเขาใต้ทะเล 45 ลูก และพบว่ามีปะการังชนิดใหม่ที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อมากกว่า 100 ชนิด ตลอดจนกุ้งล็อบสเตอร์กับหอยมอลลัสก์ และระหว่างการสำรวจนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบปลาหมึกเรืองเเสง ปลาฉลามน้ำลึกเเละปลาไหล (basketwork eels) ทีมผู้เชี่ยวชาญใช้เวลาบนเรือ อินเวสติเกเตอร์ (Investigator) ซึ่งเป็นเรือสำรวจเพื่อการวิจัยทางทะเลนานถึง 1 เดือน เเละเป็นงานของสำนักงาน Commonwealth Scientific and Industrial Research Organization หรือ CSIRO ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกเทศของรัฐบาลออสเตรเลียที่รับผิดชอบด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทีมนักวิทยาศาสตร์ดำเนินก

นักวิทยาศาสตร์ชี้ จุลินทรีย์มีชีวิตในหินโบราณใต้ท้องสมุทรโลกแสดงความน่าจะเป็นของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร

รูปภาพ
ค้นหา Custom Search ทีมวิจัยที่นำโดย โยเฮ ซูซูกิ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นทีมล่าสุดที่ไม่ลดละความพยายามที่จะพิสูจน์ว่า มีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซ่อนอยู่ตามหินโบราณใต้ท้องสมุทร และค้นพบเซลล์สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ภายในก้อนหินโบราณที่เปลือกโลกใต้สมุทรอันหนาวเย็น ทางตอนใต้ของพื้นมหาสมุทรแปซิฟิก การค้นพบนี้ทำให้วงการนักวิทยาศาสตร์งุนงงว่า เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้ซึ่งมีอยู่เป็นล้านๆ ตัว สามารถมีชีวิตอยู่รอดท่ามกลางสภาวะที่ไม่น่าเอื้ออำนวย ภายในก้อนหินอายุหลายล้านปีได้อย่างไร อย่างไรก็ดี การค้นพบนี้กลับมาสนับสนุนความน่าจะเป็นที่ว่า สิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วระดับจุลินทรีย์นั้นอาจมีอยู่เต็มไปหมดในเปลือกโลกใต้สมุทร ซึ่งประกอบไปด้วยชั้นหินขนาดมหึมาที่สูงเท่าๆ กับเขาเอเวอเรสต์ และกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 5 ของโลก ทั้งยังทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตระดับนี้อาจยังมีชีวิตอยู่ในเทือกเขาต่างๆ บนดาวอังคารซึ่งครั้งหนึ่งถูกปกคลุมด้วยพื้นมหาสมุทร ทั้งนี้ เปลือกโลกใต้สมุทรนั้นก่อตัวขึ้นมาค่อนข้างต่อเน

ทหารทัพเรือสหรัฐฯเสียชีวิตจากโควิด-19เผยติดเชื้อบนเรือบรรทุกเครื่องบินกว่า 500 ราย

รูปภาพ
ทหารทัพเรือสหรัฐฯเสียชีวิตจากโควิด-19เผยติดเชื้อบนเรือบรรทุกเครื่องบินกว่า 500 ราย    ค้นหา Custom Search  รายงานจากกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุว่า ทหารเรืออเมริกันที่ปฏิบัติหน้าที่บนเรือบรรทุกเครื่องบิน  USS Theodore Roosevelt เสียชีวิตแล้ว 1 นาย จากโคโรนาไวรัส  หรือโควิด-19 ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อจากเรือบรรทุกเครื่องบินมีมากกว่า 500 ราย

เมื่อกรุงจาการ์ตากำลังทรุดตัวลง อินโดนีเซียแก้ปัญหานี้อย่างไร

รูปภาพ
กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย เป็นเมืองที่ทรุดตัวเร็วที่สุดในโลก และนั่นคือหนึ่งในเหตุผลที่ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ต้องการจะย้ายเมืองหลวง เขารับปากว่าจะสร้างเมืองหลวงทางการบริหารแห่งใหม่บนเกาะบอร์เนียวที่เต็มไปด้วยป่า โดยจะสร้างให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนในแบบที่ไม่เคยเห็นมีมาก่อนในอินโดนีเซีย หรืออาจจะในโลก แต่ผู้คนจำนวนมากก็กังวลเกี่ยวกับแผนการนี้ว่า จะทำให้เกิดหายนะทางสิ่งแวดล้อมขึ้นในสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง 👉กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ทรุดตัวลงในอัตราที่เร็วที่สุดในบรรดาเมืองใหญ่ทั่วโลก ขณะที่ระดับน้ำทะเลชวาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง รีเบกกา เฮนช์เก ผู้สื่อข่าวบีบีซี ได้เดินทางไปบริเวณที่มีการสร้างกำแพงเพื่อพยายามสกัดน้ำทะเล 👉"กำแพงยักษ์กั้นทะเลทอดตัวยาวหลายร้อยเมตร สิ่งที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของนครที่มีอายุยาวกว่าที่คาดไว้ มัสยิดแห่งนี้ จมน้ำมานานหลายปีแล้ว และอนาคตของพื้นที่นี้ก็ดูสิ้นหวัง" เธอกล่าว แผนการย้ายเมืองหลวงจากเกาะชวา เพื่อสร้างนครแห่งใหม่ที่อยู่ไกลออกไป 2,000 กิโลเมตรบนเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็

Catatumbo lightning ดินแดนที่มีฟ้าผ่ามากที่สุดในโลก

รูปภาพ
ค้นหา Custom Search กินเนสบุ๊กได้บันทึกให้ Catatumbo lightning ในเวเนซุเอลาเป็นดินแดนที่เกิดฟ้าผ่ามากที่สุดในโลก โดยพื้นที่นี้ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำคาตาตุมโบที่กำลังไหลเข้าสู่ทะเลสาบมาราไกโบ โดยในหนึ่งปีที่นี่จะมีฟ้าผ่าประมาณ 140-160 วัน และมีความถี่ได้ถึง 28 ครั้งต่อนาทีเลยทีเดียว แม่น้ำกาตาตุมโบ เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาว 338 กิโลเมตร มีต้นน้ำอยู่ทางตอนเหนือของประเทศโคลอมเบีย ไหลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามเขตแดนประเทศเวเนซุเอลา และไหลลงทะเลสาบมาราไกโบ ทางตอนบนของประเทศเวเนซุเอลา สาเหตุที่ทำให้เกิดฟ้าผ่าเป็นจำนวนมากขนาดนี้เป็นเพราะระหว่างทางแม่น้ำสายนี้ได้พัดพาอินทรีย์วัตถุที่กำลังสลายตัวมายังปากแม่น้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดแก๊สมีเทนลอยขึ้นสู่บรรยากาศและรวมตัวกันคล้ายก้อนเมฆ เมื่อลมที่มีความร้อนสูงเข้ามาปะทะจึงทำให้เกิดการเสียดสีและสะสมประจุไฟฟ้าไว้ จนต้องปลดปล่อยลงสู่พื้นดินจนเกิดเป็นปรากฏการณ์ฟ้าผ่านั่นเอง เมื่อคืนที่มาเลเซีย มีฝนตกหนัก