บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2020

มัมมี่ นก โบราณอายุกว่า 46000 ปี ถูกพบในสภาพสมบูรณ์ แช่แข็งอยู่ที่ไซบีเรีย

รูปภาพ
หากว่าเรายกให้ประเทศอียิปต์เป็นดินแดนแห่งการทำมัมมี่ด้วยมือมนุษย์ พื้นที่ไซบีเรียของรัสเซียก็คงจะเป็นดินแดนแห่งมัมมี่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ นั่นเพราะนอกจากที่ผ่านๆ มาเราจะเคยพบมัมมี่ที่สมบูรณ์มากๆ ของทั้งลูกม้าและสุนัขหมาป่าในที่แห่งนี้มาแล้ว เมื่อล่าสุดนี้เอง นักวิทยาศาสตร์ก็มีโอกาสได้พบกับมัมมี่ของนกเพิ่มมาอีกหนึ่งตัวแล้ว      เจ้ามัมมี่นกที่ถูกพบตัวล่าสุดนี้ ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2018 โดยเป็นมัมมี่ของนกสายพันธุ์โบราณ ที่มีอายุมากกว่า 46,000 ปี และถูกเก็บเอาไว้แบบสมบูรณ์มาก จนมีทั้งขนและเล็บเหลืออยู่ตากความช่วยเหลือของดินเยือกแข็งคงตัวหรือ “เพอร์มาฟรอสท์” เมื่อมัมมี่ตัวนี้ถูกตรวจสอบโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์มและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งสวีเดน พวกเขาก็พบว่ามันมีน่าจะเป็นมัมมี่ของนกสายพันธุ์ “Eremophila alpestris” หรือ “นกลาร์คเขา” นกซึ่งเป็นบรรพบุรุษของนกลาร์คสองสายพันธุ์ในปัจจุบันอีกที “ไม่เพียงแต่เราสามารถระบุว่านกลาร์คเขาได้เท่านั้น  การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมยังแสดงให้เราเห็นด้วยว่านกที่พบเป็นบรรพบุรุษของนกลาร์ค 2 สายพันธุ์ในปัจจุบัน ซึ

น้ำพุร้อนสีเลือดJigoku Meguriที่ญี่ปุ่น

รูปภาพ
น้ำพุร้อนสีเลือดแห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเบปปุ บนเกาะคิชู จังหวัดโออิตะ เมืองแห่งนี้ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองแห่งบ่อน้ำแร่และรีสอร์ทน้ำแร่มากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น โดยนักท่องเที่ยวสามารถเลือกเข้ามาพักและแช่น้ำแร่หลากหลายชนิด Jigoku Meguri หากแต่มีหนึ่งบ่อที่มีความงดงาม แต่ไม่สามารถลงไปแช่ได้ นั่นคือ บ่อน้ำพุสีเลือด เกิดจากน้ำแร่บริสุทธิ์ไหลมารวมกับแร่เหล็กเข้มข้น... ทำให้บ่อพุร้อนกลายเป็นสีแดงจัดคล้ายสีเลือด มันมีความลึกกว่า 164.5 เมตร และมีอุณหภูมิสูงมากถึง 78 องศา ซึ่งเป็นผลจากระเบิดของภูเขาไฟในอดีต มันมีอีกชื่อเรียกว่า Akayusen และถูกจัดเป็นหนึ่งใน “จิโกกุ เมกุริ” (Jigoku Meguri) หรือ “โปรแกรมทัวร์ขุมนรกทั้ง 8” (Eight Hell Tour) ซึ่งเป็นการเที่ยวชมบ่อน้ำพุร้อนตามธรรมชาติในเมืองเบปปุ ที่มีความงามแปลกตาและลักษณะแตกต่างกันไป  แน่นอนว่านรกทั้งแปดนั้น มีแร่ธาตุที่เข้มข้นและอุณหภูมิสูงเกินกว่าร่างกายมนุษย์จะทนไหวได้

พบฟอสซิลไดโนเสาร์แปลกในเท็กซัส มีจมูกคล้ายนกอินทรี และคางคล้ายเกรียงปาดปูน

รูปภาพ
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ทีมนักบรรพชีวินชาวอเมริกัน ได้ออกมารายงานการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นใหม่ ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ Big Bend ในรัฐเท็กซัส  สหรัฐอเมริกา โดยฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ถูกค้นพบในครั้งนี้นั้น เป็นของไดโนเสาร์สายพันธุ์ “Aquilarhinus palimentus” ไดโนเสาร์ปากเป็ดที่มีจุดเด่น อยู่ที่จมูกที่มีรูปร่างคล้ายนกอินทรี และคางซึ่งมีรูปร่างเหมือนเกรียงปูน เจ้า Aquilarhinus palimentus นั้นเชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อราวๆ 80 ล้านปีก่อน โดยมันมีลักษณะโดยรวมที่คล้ายกับไดโนเสาร์หงอนในกลุ่ม Saurolophinae แต่ก็มีลักษณะที่เก่าแก่กว่าอยู่หลายอย่าง ลักษณะเหล่านี้เอง ทำให้นักบรรพชีวินคาดว่าไดโนเสาร์ปากเป็ดหรือ Hadrosauridae (ซึ่งรวมทั้ง Aquilarhinus palimentus และไดโนเสาร์ในกลุ่ม Saurolophinae) อาจจะมีจุดกำเนิดมาจากตอนใต้ของ อเมริกาเหนือ ก่อนที่มันจะแพร่กระจายไปยัง อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย และแอนตาร์กติกาในเวลาต่อมา อ้างอิงจากรายงานการค้นพบ อันที่จริงแล้ว ฟอสซิลของ Aquilarhinus palimentus ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงยุค 1980 โดยเป็นส่

หนุ่มรัสเซียอ้างเจอUFO ตกทวีปแอนตาร์กติกา

รูปภาพ
ดูชัดๆ  หนุ่มรัสเซียอ้างเจอUFO ตก ทวีปแอนตาร์กติก นาย Valentin Degteryov  นักล่า UFO ชาวรัสเซีย อ้างว่าพบหลักฐานภาพถ่ายจากดาวเทียม ที่แสดงให้เห็นภาพยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาว ที่มีขนาดใหญ่ถึง 579 เมตร ซึ่งพุ่งตกลงไปที่ทวีปแอนตาร์กติกา เมื่อหลายล้านปีก่อน โดยรูปที่นำมากล้าวอ้าง ซึ่งเป็นภาพที่ได้จาก Google Earth นั้น หนุ่มรัสเซียมีความเชื่อมั่นว่ามันคือภาพยานอวกาศ ที่ได้รับความเสียหายขณะร่อนลงจอดที่ทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งหลังจากที่มีการโพสต์รูปดังกล่าวลงไปในโซเชียลมีเดีย ก็มีการแชร์ภาพปริศนานี้ออกไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ผู้ที่เข้ามาโพสต์แสดงความเห็นส่วนใหญ่ต่างมองว่า รูปดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงภาพของหินที่โผล่ออกมาจากภูเขาเท่านั้น ในขณะที่พ่อหนุ่มนักล่า UFO ยังคงมั่นใจว่า สิ่งที่ปรากฏในรูปคือ ยานเอเลี่ยนที่ได้รับความเสียหาย ที่เพิ่งถูกพบเห็นหลังจากน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกา เกิดละลายลงแน่นอน จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่โปรดใช้วิจารณญาณในการพิจารณา

Kerioทะเลสาบภูเขาไฟแห่งไอซ์แลนด์

รูปภาพ
ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ Kerio (บางครั้งสะกดว่า Kerid) ตั้งอยู่ในพื้นที่ Grímsnes ทางใต้ของไอซ์แลนด์ และเป็นหนึ่งในปล่องภูเขาไฟที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุด และเป็นจุดแวะพักประจำสำหรับนักท่องเที่ยวตลอดเส้นทางการเที่ยวชม Golden Circle ปล่องภูเขาไฟนั้นเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟเมื่อประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว และเป็นหนึ่งในปล่องภูเขาไฟหลายแห่งในพื้นที่ ซึ่งรู้จักกันในชื่อเขตภูเขาไฟทางตะวันตกของไอซ์แลนด์ ซึ่งรวมถึงคาบสมุทร Reykjanes และธารน้ำแข็งLangjökull แต่ Kerio Crater นั้นเป็นที่จดจำได้มากที่สุด เนื่องจาก Caldera ยังคงสภาพเหมือนเดิม เพราะมันมีอายุน้อยที่สุดคือเพียงครึ่งเดียวของภูเขาไฟโดยรอบเท่านั้น แอ่งยุบปากปล่องมีความลึกประมาณ 55 เมตร กว้าง 170 เมตร เช่นเดียวกับหินภูเขาไฟอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง ที่หินของแอ่งยุบปากปล่องนั้นจะมีสีแดงสดที่เกิดจากเหล็กในลาวาแบบบะซอลต์ที่ได้รับการออกซิไดซ์โดยน้ำใต้ดิน ในขณะที่ปล่องภูเขาไฟส่วนใหญ่มีกำแพงหินสูงชันมีพืชพรรณเล็กน้อย ผนังด้านหนึ่งลาดเอียง และปกคลุมด้วยตะไคร่น้ำซึ่งถือเป็นจุดที่อันตรายที่สุด ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำสีน้ำเงินที่อ

งานวิจัยชี้ ปลูกต้นไม้ไว้บนโต๊ะทำงานอาจช่วยลดความเครียดจากงานได้

รูปภาพ
งานวิจัยล่าสุดจากญี่ปุ่นชี้ว่า พนักงานบริษัทที่ต้องทำงาน ติดโต๊ะตลอดเวลา และประสบปัญหาความเครียดพุ่งสูง เพราะกลัวทำงานเสร็จไม่ทันกำหนดหรือเพราะเจ้านายและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน อาจเลือกปลูกต้นไม้ต้นเล็กๆ ไว้บนโต๊เพื่อช่วยลดอาการเครียดที่ว่านี่ได้ ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเฮียวโก ในประเทศญี่ปุ่น ทำการทดสอบดังกล่าวกับพนักงานบริษัทจำนวน 63 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 24 ถึง 60 ปี และใช้เวลาทำงานกับคอมพิวเตอร์สัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง... เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ และตีพิมพ์ผลงานสรุปออกมาในวารสารHortTechnology ซึ่งเป็นงานพิมพ์โดย สมาคมพืชสวนแห่งอเมริกา (American Society for Horticultural Science) ที่เน้นเสนอผลงานการทดลองวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสวน แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ งานวิจัยดังกล่าวเกิดขึ้นหลังพบว่า มนุษย์เงินเดือนในญี่ปุ่นประสบภาวะความเครียดพุ่งสูงจนเกิดปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ จึงวางแผนวิจัยภายใต้สมมติฐานว่า พนักงานจำนวนมากไม่ค่อยให้ความสำคัญกับประโยชน์ของต้นไม้ในการลดความเครียดจากการทำงาน แล้วทำการทดสอบกับคนในที่ทำงานจริงๆ ไม่เหมือนกับงานวิจัยก่อนๆ ที่ส่วนให

นักวิทย์ฯสหรัฐฯ หาทางสกัด พิษงู ช่วยรักษามะเร็ง

รูปภาพ
ทีมวิจัยนำโดยนายสตีเฟน แมคเคสซี อาจารย์คณะชีววิทยาจาก University of Northern Colorado เผยผลการศึกษาเกี่ยวกับพิษงูหลากหลายชนิด ที่สามารถจู่โจมเข้าทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายมนุษย์ได้แบบเฉพาะตัว ในการศึกษานี้ นักศึกษาของนายแมคเคสซี จะนำพิษงูจากทั่วทุกมุมโลก เช่นงูหางกระดิ่ง งูแมวเซา และนำพิษงูต่างๆ มาศึกษาลงลึกถึงสารประกอบและโปรตีนภายในพิษงูเหล่านี้ และพบว่า ในพิษงูมีสารประกอบที่มีวิวัฒนาการในตัวเองเพื่อปลิดชีพสัตว์อื่นๆ ซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวทำลายสิ่งมีชีวิตทุกอย่างได้ แต่ปรากฏว่า สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดอย่างพิษงูนี้ กลับกลายเป็นหนทางที่เหมาะสมในการรักษาโรคได้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หัวหน้าทีมวิจัยจาก UNC บอกว่า เมื่อไรก็ตามที่เขาเสนอแนวทางการรักษาด้วยพิษงูต่อสาธารณชน ผู้คนจะนึกถึงอันตรายของพิษงูขึ้นมาก่อนเป็นอันดับแรก แต่กลับไม่ได้คำนึงถึงคุณประโยชน์ของสัตว์เลื้อยคลานมีพิษต่อมนุษย์ เหมือนกับเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่จะหวาดกลัวสัตว์มีพิษไว้ก่อน การศึกษาคุณประโยชน์ของพิษงู เริ่มต้นมายาวนานตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ที่มีการนำพิษงูมารักษาโรคความดันโลหิตสูงกับผู้คนหลายล้

มัสยิดหนิวเจีย牛街禮拜寺มัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ประเทศจีน

รูปภาพ
ซุ้มประตูด้านหน้า มัสยิดหนิวเจีย มัสยิดหนิวเจีย (จีนตัวย่อ: 牛街礼拜寺; จีนตัวเต็ม: 牛街禮拜寺; พินอิน: Niújiē lǐbàisì) เป็นมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ประเทศจีน สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 996 ได้บูรณปฏิสังขรณ์และต่อมาก็ได้ขยับขยายในรัชสมัยของจักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิง มัสยิดหนิวเจีย牛街清真寺  ข้อมูลพื้นฐานที่ตั้งพิกัดภูมิศาสตร์39°53′04″N 116°21′29″E / 39.88444°N 116.35806°E ศาสนามุสลิมนิกายซุนนีการสร้างสถาปัตยกรรมมัสยิดรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนพิธีปฐมฤกษ์ค.ศ.996 ข้อมูลจำเพาะความจุ1,000 คน มัสยิดนี้ตั้งอยู่ในเขตเซวียนอู่ของปักกิ่ง เป็นศูนย์กลางทางศาสนาของมุสลิมกว่าหมื่นคนจากบริเวณใกล้เคียง และเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดและ เก่าแก่ที่สุดในปักกิ่ง ทำให้เขตเซวียนอู่เป็นเขตที่มีมุสลิมอาศัยอยู่มากที่สุดในปักกิ่งด้วย โถงกลาง มัสยิดหนิวเจียครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 6,000 ตารางเมตร มัสยิดมีลักษณะวัฒนธรรมผสมระหว่างอิสลามกับจีน สถาปัตยกรรมภายนอกแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนแบบดั้งเดิม ในขณะที่ภายในส่วนใหญ่ตกแต่งในแบบของอิสลาม อาคารมัสยิดซึ่งสร้างด้วยไม้ซุงเป็นแหล่งที่ตั้งอนุสรณ์สถานและ

พยาบาลจีนโกนผม ก่อนเดินทางไปอู่ฮั่น สู้ไวรัสโควิด-19

รูปภาพ
โรงพยาบาลในมณฑลกานซู่ ให้กลุ่มพยาบาลโกนหัว เพื่อแสดงความมุ่งมั่นก่อนจะเดินทางไปต่อสู้กับไวรัสโควิด-19ที่เมืองอู่ฮั่นขณะที่ชาวเน็ตจีนตั้งคำถามว่า จำเป็นต้องทำขนาดนี้หรือไม่ สำนักข่าว เดอะ ซัน และ เดลีเมล รายงานในวันที่ 19 ก.พ. 2563 ว่า โรงพยาบาลในเมืองหลานโจว มณฑลกานซู่ ของประเทศจีน ให้พยาบาล 15 คน โกนผมเพื่อแสดงความมุ่งมั่นก่อนที่พวกเธอจะถูกส่งไปช่วยต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ หรือ โควิด-19 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาด เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยออกมา หลัง ‘กานซู่เดลีย์’ สื่อจีนในมณฑลกานซู่ เผยแพร่คลิปวิดีโอเหตุการณ์ขณะพยาบาลกลุ่มนี้กำลังถูกโกนผม ซึ่งบางคนถึงกับหลั่งน้ำตา ลงบนอินเทอร์เน็ตเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อตั้งคำถามถึงความเหมาะสม ทำให้ชาวเน็ตจีนออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่โจมตีโรงพยาบาลที่ให้เจ้าหน้าที่มาทำอะไรแบบนี้ ต่อมา ทางโรงพยาบาลก็ออกมาชี้แจงว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนสมัครใจที่จะโกนผมเอง เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อโรค “ชาวเน็ตส่วนใหญ่ไม่รู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่สำหรับเจ้าหน้าที่การแพทย์ นี่เป็นเรื่องที่

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อน้ำแข็งทั้งโลกละลายหมด

รูปภาพ
จะเกิดอะไรขึ้น…เมื่อน้ำแข็ง ทั้งโลกละลายหมด? หากน้ำแข็งบนโลกละลายหมด ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยจะสูงขึ้นประมาณ 80 เมตร และยังไม่หมดแค่นั้น เพราะโลกที่น้ำแข็งละลายจนหมดนั้นจะต้องเป็นโลกที่ร้อนกว่าทุกวันนี้มาก เมื่อบวกกับผลของอุณหภูมิที่สูงขึ้น น้ำก็จะขยายปริมาตรทำให้ระดับน้ำทะเลสูงเพิ่มขึ้นไปอีก 30 เมตร รวมๆ แล้วทะเลจะสูงขึ้นถึง 110 เมตร แม้จะตัดเรื่องการขยายตัวของปริมาตรน้ำออกไป ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 80 เมตรก็มากเกินพอที่จะทำให้แผนที่โลกเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล และหากมันเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ประชากรโลกกว่าร้อยละ 50 จะได้รับผลกระทบทันที  ซึ่งนั่นเท่ากับผู้ลี้ภัยจำนวน 3.5 พันล้านคนต้องอพยพหนีเข้าไปแออัดแย่งที่อยู่และทรัพยากรกับประชากรอีกร้อยละ 50 ที่เหลือร้อยละ 99 ของน้ำแข็งบนโลกอยู่ในแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ 3 อัน  ได้แก่ แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันตก และแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันออก การละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์จะทำให้ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยสูงขึ้น 7 เมตร ส่วนแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันตกก็บวกขึ้นไปอีก 8 เมตร แต่ส่วนที่น่ากลัวที่สุดคือ แผ่นน้ำ

6 อวัยวะที่ไม่จำเป็นสำหรับมนุษย์อีกต่อไป

รูปภาพ
เราต่างรู้ดีว่าไส้ติ่ง คืออวัยวะ ไร้ประโยชน์ที่หลงเหลือมาจากกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ แต่คุณทราบหรือไม่ว่านอกจากนี้แล้ว ยังมีอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายที่ไม่มีประโยชน์ใช้งานสำหรับคนยุคปัจจุบันอีกต่อไป ดร.ดอร์ซา อามีร์ นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาด้านวิวัฒนาการ ระบุว่า "ร่างกายของคุณก็คือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติดี ๆ นี่เอง" แล้วเหตุใดลักษณะสืบสายพันธุ์เหล่านี้ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเราแม้ว่ามันจะไม่มีประโยชน์แล้ว คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญก็คือ เพราะวิวัฒนาการเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั่นเอง ในบางครั้งก็ไม่มีแรงกดดันจากการคัดเลือกทางธรรมชาติเพียงพอที่จะขจัดลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ไร้ประโยชน์บางอย่างไป ดังนั้นมันจึงยังหลงเหลืออยู่จากรุ่นสู่รุ่น ในบางกรณีลักษณะสืบสายพันธุ์เหล่านี้ได้พัฒนาประโยชน์การใช้งานใหม่ขึ้น ในกระบวนการที่เรียกว่า  "การเปลี่ยนหน้าที่ของโครงสร้าง" (exaptation) นี่คือ ลักษณะที่หลงเหลือจากวิวัฒนาการ 6 อย่างที่พบในมนุษย์  1. หางตัวอ่อนมนุษย์ ตัวอ่อนมนุษย์พัฒนาหางขึ้นมาในสัปดาห์แรก ๆ ของการปฏิสนธิ แต่หางนี

ค้นพบเม็ดเลือดแดงรูปเคียวเกิดจากยีนกลายพันธุ์ในเด็กคนหนึ่งเมื่อ 7,300 ปีก่อน

รูปภาพ
เม็ดเลือดแดงรูปเคียวดูคล้ายกับพระจันทร์เสี้ยว ต่างจากเม็ดเลือดแดงปกติที่เป็นรูปกลม ผลการศึกษาล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Human Genetics ระบุว่า ผู้ป่วยโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle-cell disease )และผู้ที่เป็นพาหะของโรคดังกล่าวทุกคน สามารถสืบสาวประวัติของวงศ์ตระกูลย้อนกลับไปได้ ถึงบรรพบุรุษร่วมผู้หนึ่งที่มีชีวิตอยู่เมื่อราว 7,300 ปีก่อน  ซึ่งคนผู้นี้เป็นเด็กคนแรกที่เกิดมาพร้อมกับยีนกลายพันธุ์ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติ ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ต่างสงสัยว่า โรคเลือดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมดังกล่าวมีต้นกำเนิดจากการกลายพันธุ์ของยีนเพียงครั้งเดียวในบรรพบุรุษคนเดียว หรือเกิดจากยีนกลายพันธุ์ที่แยกกันปรากฏขึ้นในคนหลายกลุ่มในหลายสถานที่ทั่วโลกกันแน่ แต่ผลการศึกษาครั้งนี้ของนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์เพื่อการวิจัยจีโนมิกส์และสุขภาพโลก (CRGGH ) ในสหรัฐฯชี้ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่โรคนี้จะมีกำเนิดมาจากการกลายพันธุ์ครั้งเดียวในยีนของคนผู้เดียวมากกว่า เชื่อกันว่าการกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิดยีนซึ่งสร้างเม็ดเลือดแดงรูปเคียวคล้ายพระจันทร์เสี้ยว แทนที่จะเป็น

พบฟอสซิลเต่ายักษ์ตัวเท่ารถยนต์ในอเมริกาใต้ อายุเก่าแก่กว่า 7 ล้านปี

รูปภาพ
ฟอสซิลกระดองเต่ายักษ์ ที่พบมีขนาดถึง 3 เมตร พบฟอสซิลเต่ายักษ์ตัวเท่ารถยนต์ในอเมริกาใต้  อายุเก่าแก่กว่า  7 ล้าน ปี เต่ายักษ์ดึกดำบรรพ์  ทีมนักบรรพชีวินวิทยาของโคลอมเบีย ขุดพบซากฟอสซิลของเต่ายักษ์ดึกดำบรรพ์ Stupendemys geographicus ที่มีขนาดใหญ่เท่ารถเก๋งคันหนึ่ง ในพื้นที่ชายแดนซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างทะเลทรายทาทากัวของโคลอมเบียกับภูมิภาคอูรูมาโกในเวเนซุเอลา ซากฟอสซิลดังกล่าวเป็นกระดองเต่าที่มีความยาวเกือบ 3 เมตร มีอายุเก่าแก่ราว 7-13 ล้านปี ซึ่งชี้ว่าเมื่อเต่ายักษ์ตัวนี้ ยังมีชีวิตอยู่ มันอาจมีขนาดตัวที่รวมส่วนหัวและหางแล้วยาวถึง 4 เมตร ทั้งอาจมีน้ำหนักมากถึง 1.25 ตัน มีการตีพิมพ์รายงานการค้นพบข้างต้นในวารสาร Science Advances โดยระบุว่าฟอสซิลที่พบเป็นของเต่าตัวผู้ เนื่องจากมีจะงอยยื่นยาวออกมาที่ด้านหน้าของกระดองทั้งด้านซ้ายและขวา รอยแผลเป็นที่ฝังลึกในจะงอยดังกล่าวชี้ว่า พวกมันใช้อวัยวะนี้เป็นอาวุธคล้ายหอกหรือทวน เพื่อต่อสู้แย่งชิงอาณาเขตหรือคู่ผสมพันธุ์ นักบรรพชีวินวิทยากำลังขุดค้นหา ซากฟอสซิล ในพื้นที่ของภูมิภาคอูรูมาโกในเวเนซุเอลา ฟอสซิลของเต่ายักษ์ Stupendemys

พบ ไวรัสยารา เชื้อสายพันธุ์ใหม่มีพันธุกรรมไม่เหมือนใครในโลก

รูปภาพ
พบ "ไวรัสยารา" เชื้อสายพันธุ์ใหม่ มีพันธุกรรมไม่เหมือนใครในโลก ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า "ไวรัสยารา" สามารถก่อโรคในมนุษย์ได้หรือไม่ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วโลกขณะนี้ เป็นเพียงไวรัสชนิดหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังพอจะสืบหาที่มาของการกลายพันธุ์และเส้นทางวิวัฒนาการของมันได้ แต่ "ไวรัสยารา" (Yaravirus) ซึ่งเพิ่งมีการค้นพบในประเทศบราซิล กลับมีจีโนมหรือข้อมูลพันธุกรรมทั้งหมดไม่เหมือนกับไวรัสชนิดใดที่เคยค้นพบมาก่อนในโลก  ทีมนักไวรัสวิทยานานาชาติ นำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมีนาสเจอไรส์ (UFMG) ของบราซิล เผยแพร่รายงานการค้นพบนี้ในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ bioRxiv โดยระบุว่าพบเชื้อไวรัสชนิดใหม่ล่าสุดในทะเลสาบปัมปูลญา(Pampulha) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มนุษย์ขุดขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศทีมผู้วิจัยตั้งชื่อให้ไวรัสชนิดนี้ว่า "ยารา"  ซึ่งหมายถึง "มารดาแห่งห้วงน้ำทั้งมวล" ตามชื่อของพรายน้ำที่มีลักษณะคล้ายเงือกในตำนานพื้นบ้านของบราซิล ซึ่งมักจะปรากฏตัวเพื่อลวงให้บรรดาคนเดินเรือจมน้ำ  ไวรัสยาราที่ค