IVPP เผยว่า หูชั้นกลางของมนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากเหงือกปลา โดยได้หลักฐานชิ้นสำคัญจากการศึกษาฟอสซิลปลาน้ำจืดที่มีชื่อว่า ‘armored galeaspid’
ล่าสุดนักวิทยาศาตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพชีวินวิทยาของประเทศจีนหรือ IVPP เผยว่า หูชั้นกลางของมนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากเหงือกปลา โดยได้หลักฐานชิ้นสำคัญจากการศึกษาฟอสซิลปลาน้ำจืดที่มีชื่อว่า ‘armored galeaspid’ หูชั้นกลางของมนุษย์ ประกอบไปด้วยกระดูกนำเสียง 3 ชิ้น ได้แก่กระดูกทั่ง กระดูกโกลน และกระดูกค้อน มีหน้าที่หลักคือส่งต่อคลื่นเสียงที่สั่นสะเทือนไปยังหูชั้นใน หูชั้นในนี้ก็จะแปลคลื่นเสียงให้เป็นกระแสประสาท เพื่อส่งต่อไปยังสมองจนทำให้เราได้ยินเสียง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาที่มาของหูชั้นกลางมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งพบกับหลักฐานที่ชี้ว่า หูชั้นกลางของเราพัฒนามาจากเหงือกปลา ศาสตราจารย์ Gai Zhikun เจ้าของงานวิจัยดังกล่าวเล่าว่า ในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยจาก IVPP ได้ค้นพบฟอสซิลสมองของปลา Shuyu ที่มีอายุ 430 ล้านปี และฟอสซิลปลาในกลุ่ม galeaspid ชิ้นแรกที่มีอายุ 419 ล้านปี ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้พร้อมกับเส้นใยของเหงือกปลา ต่อมาได้มีการจำลองอวัยวะภายในกะโหลกศีรษะของปลา Shuyu แบบสามมิติขึ้น ภาพจำลองเผยให้เห็นว่า กะโหลกศีรษะของมันมีขนาด