บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2022

ปลาช่อนเข็ม ปลาแปลกอีกชนิดที่พบในป่าพรุโต๊ะแดง

รูปภาพ
ปลาช่อนเข็ม ปลาแปลกอีกชนิดที่พบในป่าพรุโต๊ะแดง คงมีน้าหลายคนไม่เคยรู้จักปลาช่อนเข็มแบบผม เพราะปัจจุบันมันเป็นปลาที่หาได้ยาก แม้ปลาชนิดนี้จะมีอยู่ในไทยก็ตาม โดยปลาช่อนเข็ม จริงๆ มันก็ไม่ใช่ปลาช่อน เพราะดูเหมือนมันจะอยู่ในวงศ์ของปลากัด แต่เพราะมันมีรูปร่างคล้ายปลาช่อนผสมกับปลาเข็ม ก็เลยถูกเรียกว่าปลาช่อนเข็ม ส่วนปากของมันแหลมๆ น้าๆ อาจคิดว่าปากมันเล็ก แต่มันเป็นปลาที่ปากกว้างมาก เมื่อเทียบกับขนาดตัว ยังไงลองดูคลิป และข้อมูลของมันกันเลยดีกว่า   ปลาช่อนเข็ม (Giant pikehead) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciocephalus pilcher ในวงศ์ Osphronemidae ปลาช่อนเข็มมี 2 ชนิด Luciocephalus pulcher พบได้ในป่าพรุทางภาคใต้ของไทย ไปจนถึงมาเลเซีย และ Luciocephalus aura มีขนาดเล็กกว่าอีกชนิดหนึ่ง โดยพบเฉพาะบนเกาะบอร์เนียว เพิ่งถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ 2008 เป็นปลาที่มีรูปร่างคล้ายปลาช่อนผสมกับปลาเข็ม มันมีส่วนหัวและปากแหลมยาว มีลำตัวสีน้ำตาลเข้มและน้ำตาลเขียว หลังสีจางกว่า กลางลำตัวมีแถบดำใหญ่ขอบสีพางพาดยาวและมีแถบสีจางพาดบริเวณด้านหลัง โคนครีบหางมีจุดสีดำขอบสีขาว ท้องสีจาง ครีบหลังสีดำ ครีบห

IVPP เผยว่า หูชั้นกลางของมนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากเหงือกปลา โดยได้หลักฐานชิ้นสำคัญจากการศึกษาฟอสซิลปลาน้ำจืดที่มีชื่อว่า ‘armored galeaspid’

รูปภาพ
ล่าสุดนักวิทยาศาตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพชีวินวิทยาของประเทศจีนหรือ IVPP เผยว่า หูชั้นกลางของมนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากเหงือกปลา โดยได้หลักฐานชิ้นสำคัญจากการศึกษาฟอสซิลปลาน้ำจืดที่มีชื่อว่า ‘armored galeaspid’  หูชั้นกลางของมนุษย์ ประกอบไปด้วยกระดูกนำเสียง 3 ชิ้น ได้แก่กระดูกทั่ง กระดูกโกลน และกระดูกค้อน มีหน้าที่หลักคือส่งต่อคลื่นเสียงที่สั่นสะเทือนไปยังหูชั้นใน หูชั้นในนี้ก็จะแปลคลื่นเสียงให้เป็นกระแสประสาท เพื่อส่งต่อไปยังสมองจนทำให้เราได้ยินเสียง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาที่มาของหูชั้นกลางมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งพบกับหลักฐานที่ชี้ว่า หูชั้นกลางของเราพัฒนามาจากเหงือกปลา ศาสตราจารย์ Gai Zhikun เจ้าของงานวิจัยดังกล่าวเล่าว่า ในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยจาก IVPP ได้ค้นพบฟอสซิลสมองของปลา Shuyu ที่มีอายุ 430 ล้านปี และฟอสซิลปลาในกลุ่ม galeaspid ชิ้นแรกที่มีอายุ 419 ล้านปี ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้พร้อมกับเส้นใยของเหงือกปลา ต่อมาได้มีการจำลองอวัยวะภายในกะโหลกศีรษะของปลา Shuyu แบบสามมิติขึ้น ภาพจำลองเผยให้เห็นว่า กะโหลกศีรษะของมันมีขนาด

โหนราวรถไฟฟ้า ปีนป่ายสนุกสนานเป็นลิง ที่สาธารณะผู้ปกครองควรดูแล

รูปภาพ
โหนราวรถไฟฟ้า ปีนป่ายสนุกสนานเป็นลิง ที่สาธารณะผู้ปกครองควรดูแล “อย่าเอานิสัยที่ใช้ในบ้าน ออกมาใช้ที่สาธารณะ”  เมื่อผู้ปกครองพาลูกหลานออกมาในที่สาธารณะ แต่ไม่สามารถควบคุมบุตรหลานได้ สุดท้ายก็จะสร้างความไม่สบายใจให้กับผู้คนรอบข้างและอาจจะสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินอีกด้วย เรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นในรถไฟฟ้าสายหนึ่งใน ฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยได้มีการแชร์คลิปภาพสุดไม่สบายใจจากผู้ร่วมโดยสารรถไฟฟ้า จากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กสองคนที่ปีนป่ายโหนราวรถไฟฟ้าอย่างสนุกสนานไม่เกรงใจผู้โดยสารท่านอื่น เหมือนกำลังเล่นอยู่ในสนามเด็กเล่น รบกวนผู้โดยสารท่านอื่นเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ทำให้ผู้โดยสารท่านอื่นไม่พอใจเป็นอย่างมากนั่นก็คือ ผู้ปกครองที่เดินทางมากับเด็กๆ นั้นไม่มีการห้ามปรามหรือตักเตือนลูกหลานว่าไม่ให้ทำเลย ซึ่งนอกจากจะสร้างความรบกวนผู้โดยสารท่านอื่นแล้ว ยังอาจจะเกิดอุบัติเหตุและเป็นอันตรายต่อเด็กอีกด้วย หลังจากที่คลิปดังกล่าวได้ถูกแชร์ออกไป ก็เรียกว่ากลายเป็นไวรัลบนประเทศเวียดนาม และมีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย โดยส่วนใหญ่แล้วความคิดเห็นจะไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งตำหนิผู้ปกคร

ปลาปักเป้าในเมืองไทย มันคืออาหารจานอันตราย

รูปภาพ
ในเมืองไทย มันคืออาหารจานอันตราย อ่านข่าวย้อนหลังเจอข่าวที่ว่า แพทย์ชาวไทยกล่าวเมื่อเร็วๆนี้ว่ามีพ่อค้าไร้ศีลธรรมได้นำเนื้อปลาปักเป้าที่มีพิษร้าย แรงมากมาหลอกขายให้ลูกค้า โดยโกหกว่าเป็นเนื้อปลาแซลมอน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 15 รายในรอบสามปีที่ผ่านมา และผู้บริโภคอีกกว่า 115 คนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ถึงแม้ว่ามันจะถูกห้ามค้าในเมืองไทยตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว ปลาปักเป้าก็ยังคงถูก ขายอยู่เป็นปริมาณมากในแหล่งตลาดและร้านอาหารท้องถิ่น ใน ประเทศญี่ปุ่น ปลาปักเป้านี้มีชื่อเรียกว่า ฟุกุ และถูกเตรียมเป็นอาหารโดยพ่อครัวที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี และถูกบริโภคโดยนักชิมชาวญี่ปุ่นที่แสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจ ข้อมูลเพิ่มเติม ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก นโยบายกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีโครงการ

นี่คือปลาปลาที่อาจส่งคุณเข้าสู่โลกแห่งความฝันได้จริง

รูปภาพ
ปลาพาฝัน ปลาที่อาจส่งคุณเข้าสู่โลกแห่งความฝันได้จริง ปลาทะเลมีเรื่องที่ทำให้ตกตะลึงอยู่หลายชนิด และตัวนี้ที่ผมเรียกว่า "ปลาพาฝัน" จริงๆ มันชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซาร์ปา ซัลปา (Sarpa salpa) มันเป็นปลาที่หน้าตาสุดแสนจะธรรมดา เดี๋ยวเอามาเรื่องของปลาตัวนี้มาให้น้าๆ ได้รู้จักกัน “ปลาทะเลตัวนี้ชื่อ Salema porgy ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซาร์ปา ซัลปา (Sarpa salpa) มันรู้จักกันในอีกชื่อคือ Dreamfish อยู่ในวงศ์ปลาจาน หรือ วงศ์ปลาอีคุด (Sea bream, Porgie)” จุดเด่นของปลาตัวนี้คือ มีแถบสีทองพาดไปตามความยาวของลำตัว เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาด้านมหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน เป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้เนื้อในการบริโภค และตกเป็นเกมกีฬา บางชนิดอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำจืด   มันดูเป็นปลาธรรมดาๆ แต่มันมีพิษหลอนประสาทได้เหมือน LSD (สารเสพติดที่มีฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรงที่สุด) ชาวอาหรับมีคำเรียกปลาชนิดนี้ที่แปลได้ว่า “ปลาพาฝัน” หรือปลาที่ทำให้เกิดอาการเหมือนตกอยู่ในความฝัน “ชาวโรมันก็รู้มานานแล้วว่าหากใช้ในปริมาณน้อยๆ เจ้าสัตว์ทะเลตัวน

เห็ดทะเล (อังกฤษ: Mushroom anemones) ไม่ใช่เห็ดบนบกนะครับ

รูปภาพ
บางทีเราเคยได้เห็นแต่เห็ดที่อยู่บนบกขึ้นตามที่ชื่นแฉะและที่รกร้างตามขอนไม้ผุแต่คุณรู้หรือไม่ว่าในทะเลก็มีเห็ตเหมือนกันแต่แตกต่างสถาณะกับเห็ดที่ขึ้นบนบก เห็ดทะเล (อังกฤษ: Mushroom anemones) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมไนดาเรียที่อยู่ในอันดับ Corallimorpharia พบอาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้นของเขตร้อนทั่วโลก  มีรูปร่างคล้ายดอกไม้ทะเล (Actiniaria) มาก มีแผ่นปากกลม โดยแผ่นปากจะมีช่องปากอยู่ตรงกลาง และมีฐานสําหรับยึดเกาะ เห็ดทะเลบางชนิดจะมีหนวดที่รอบปากที่สั้นกว่าดอกไม้ทะเลหรือบางชนิดก็ไมมีหนวดรอบปากหรือไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้  เห็ดทะเลถูกแยกออกจากดอกไม้ทะเล เพราะเห็ดทะเลมีโครงสร้างทางสรีรวิทยาของรางกายคล้ายกับปะการังโครงแข็ง (Scleractinia) มากกวาดอกไม้ทะเล แตอยางไรก็ตามเห็ดทะเลไมสามารถสร้างโครงสร้างของรางกายที่เปนหินปูนได้เหมือนกับปะการังโครงแข็ง ดังนั้นนักอนุกรมวิธานจึงแยกเห็ดทะเลไว้ในอันดับ Corallimorpharia เห็ดทะเลอาศัยและเจริญเติบโตบนก้อนหินหรือซากปะการังที่ตายแล้ว เป็นการดำรงชีวิตอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย หรืออาจมีการเคลื่อนที่เล็กน้อยเพื่อความ อยู่รอ

เป็นภูเขาไฟชนิดวงแหวนไฟ กรวยภูเขาไฟสลับชั้นใน คามีกิน ภูเขาไฟชื่อจำง่ายๆ Hibok-Hibok

รูปภาพ
เป็นภูเขาไฟชนิดวงแหวนไฟ กรวยภูเขาไฟสลับชั้นใน คามีกิน  ภูเขาไฟชื่อจำง่ายๆมากครับ Hibok-Hibok   ภูเขาไฟ ฮีโบก-ฮีโบก ( Hibok-Hibok)ภูเขาไฟมีพลังชนิดกรวยภูเขาไฟสลับชั้นในคามีกิน เป็นหนึ่งในวงแหวนไฟ ภูเขาไฟ ฮีโบก-ฮีโบก (ตากาล็อก: Bundok Hibok-Hibok) หรือ ภูเขาไฟคาตาร์มัน (Bulkang Catarman)เป็นภูเขาไฟมีพลังชนิดกรวยภูเขาไฟสลับชั้นในคามีกินเป็นหนึ่งในวงแหวนไฟ นักวิทยาภูเขาไฟจัดภูเขาฮีโบก-ฮีโบกเป็นภูเขาไฟชนิดกรวยภูเขาไฟสลับชั้น[1]และ dome complex ซึ่งมีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,332 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ฐาน 10 กิโลเมตร มีบ่อน้ำร้อนหกบ่อ (Ardent Spring, Tangob, Bugong, Tagdo, Naasag และ Kiyab) หลุมอุกกาบาตสามหลุม (Kanangkaan Crater, สถานที่ที่มีการระเบิดเมื่อ ค.ศ. 1948; Itum Crater, สถานที่ที่มีการระเบิดเมื่อ ค.ศ. 1949 และ Ilihan Crater, สถานที่ที่มีการระเบิดเมื่อ ค.ศ. 1950) มีภูเขาไฟใกล้ ๆ คือ Mt. Vulcan, สูง 580 เมตร อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ; Mt. Mambajao, สูง 1552 เมตร อยู่กลางคามีกิน; Mt. Guinsiliban สูง 581 เมตร, จุดใต้สุดของคามีกิน; Mt. Butay สูง 679 เมตร; และ Mt. Uhay, ทาง

มองโกลารัคเน่ จูราสสิก้า ฟอสซิลแมงมุม ‘ผู้ & เมีย’ ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยบันทึก

รูปภาพ
มองโกลารัคเน่ จูราสสิก้า ฟอสซิลแมงมุม ‘ผู้ & เมีย’ ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยบันทึก มองโกลารัคเน่ จูราสสิก้า เป็นแมงมุมยักษ์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อนานมาแล้ว มันดำรงอยู่ในช่วงยุคจูราสสิค โดยตัวอย่างแรกถูกเรียกว่า "เนฟิลา" ถูกพบในปี 2005 ส่วนตัวอย่างที่สองคือ "มองโกลารัคเน่" พบครั้งแรกในปี 2013 แม้แมงมุมชนิดนี้จะได้รับการอธิบายมาตั้งแต่ปี 2013 แต่จนถึงตอนนี้ ก็การพบซากดึกดำบรรพ์ของพวกมันเพียงสองตัวอย่างเท่านั้น โดยตัวอย่างแรกชื่อว่า Nephila jurassica (ภายหลังใช้ชื่อ Mongolarachne) ซึ่งเป็นตัวเมียที่โตเต็มวัย และตัวผู้มีชื่อว่า Mongolarachne jurassica ..โดยตัวอย่างทั้งสองอยู่ในวงศ์ Mongolarachnidae ซึ่งได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นฟอสซิลที่เกิดจากเถ้าถ่านจากการปะทุของภูเขาไฟ ฟอสซิล ตัวผู้ (ล่าง) และตัวเมีย (บน) Mongolarachne jurassica Mongolarachne เพศเมีย มีอายุประมาณ 165 ล้านปี มีความยาวลำตัวประมาณ 24.6 มม. ในขณะที่ขาหน้ายาวประมาณ 56.5 มม. ตัวอย่างถูกค้นพบในปี 2005 บริเวณแนวหิน Jiu Long Shan Formation ในเมือง Wuhua โดยเกษตรกรในมองโกเลีย ทั้งนี้นักวิจัยในเวลานั้นอธิบายว่าฟอ

พบหลักฐานฟอสซิลเผยปริศนาลึกลับซับซ้อรในการทวีชนิดพันธุ์สัตว์ยุคแคมเบรียน

รูปภาพ
พบหลักฐานฟอสซิลเผยปริศนาลึกลับซับซ้อนในการทวีชนิดพันธุ์สัตว์ยุคแคมเบรียน เมื่อชีวิตสะพรั่งบาน บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของนิวฟันด์แลนด์ ใกล้แผ่นดินด้านตะวันออกสุดของทวีปอเมริกาเหนือ คือกลุ่มหน้าผาที่ยื่นไปในทะเลชื่อว่า แหลมมิสเทเคน (Mistaken Point) ปัจจุบัน ที่นี่มีชื่อเสียงจากชุดเบาะแสอันน่าทึ่งซึ่งเพิ่งได้รับการตีความใหม่เกี่ยวกับปริศนาที่ทั้งเร้นลับและน่าพิศวงที่สุดข้อหนึ่งว่าด้วยชีวิตบนโลก หลังจากปรากฏและดำรงวงศ์วานบนโลกมานานกว่าสามพันล้านปี ทำไมจู่ๆชีวิตซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กจิ๋วและมักมีเซลล์เดียวจึงแตกแขนงแยกเผ่าพันธุ์เป็นสัตว์โลกรูปแบบซับซ้อน มีหลายเซลล์ ขนาดใหญ่ และหลากหลายอย่างน่าทึ่ง วันหนึ่งในฤดูใบไม้ร่วง ผมเดินทางไปที่แหลมมิสเทเคน โดยร่วมทางไปกับมาร์ก ลาฟลาม จากมหาวิทยาลัยโทรอนโตมิสซิสซอกา และไซมอน แดร์ร็อก สังกัดมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ในแนชวิลล์ ซึ่งร่วมงานกับลาฟลามมานาน ภายในเขตสงวนทางนิเวศวิทยาแหลมมิสเทเคน เราขับรถไปตามถนนโรยกรวดสู่จุดที่เป็นร่องบนหน้าผาริมทะเล ก่อนจะปีนลงไป ลาฟลามชี้ไปที่แผ่นหินราบเรียบสีเทาอมม่วงแผ่นหนึ่งที่เอียงราว 30 องศา ฟอสซิล บนแผ่นหินนั้นดูเ

เกอเรเม่(Göreme) ปล่องไฟนางฟ้า แท่งหินสูงตระหง่านรูปร่างแปลกๆ ในคัปปาโดเกียดูแล้วราวกับว่าหลุดออกมาจากเทพนิยายก็ไม่ปาน

รูปภาพ
เกอเรเม่(Göreme) ปล่องไฟนางฟ้า แท่งหินสูงตระหง่านรูปร่างแปลกๆ ในคัปปาโดเกียดูแล้วราวกับว่าหลุดออกมาจากเทพนิยายก็ไม่ปาน บนที่ราบสูงทางตอนกลางของประเทศตุรกี ที่รู้จักกันในชื่อ “เกอเรเม่” (Göreme) ในคัปปาโดเกีย (Cappadocia) คือที่ตั้งของแท่งหินสูงตระหง่าน บางเสาสูงถึง ๔๐ เมตรที่ราวกับว่าหลุดออกมาจากเทพนิยายก็ไม่ปาน เรารู้จักแท่งหินที่ว่านี้กันในชื่อ “ปล่องไฟนางฟ้า” (Fairy chimneys) ย้อนกลับไปเมื่อราว ๘ ล้านปีก่อน ภูเขาไฟได้พ่นลาวาและเถ้าถ่านออกมาปกคลุมทั่วทั้งตุรกี นานวันเข้าเถ้าถ่านได้เปลี่ยนสภาพไปเป็นหินภูเขาไฟที่เต็มไปด้วยรูพรุน ปกคลุมทับอีกชั้นด้วยหินบะซอลต์ หลังจากนั้นเมื่อประติมากรที่ชื่อลมและฝนผ่านเข้ามา  มันก็ได้ช่วยตกกันแต่งรูปทรงของแท่งหินเหล่านี้ตลอดเวลาหลายล้านปี หินภูเขาไฟรูพรุนชั้นล่างไม่ค่อยทนต่อแรงของประติมากรสักเท่าไรจึงถูกกัดเซาะได้ง่ายกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่ชั้นบน ผลลัพธ์ของประติมากรจากธรรมชาติจึงออกมามีลักษณะคล้ายดอกเห็ดที่มีก้านเล็กแต่มีหมวกเห็ดขนาดใหญ่ปกคลุมอยู่เหนือขึ้นไปดังที่เราได้เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ ด้วยว่าปล่องไฟนางฟ้าตั้งอยู่บนเส้นทางที่ชนโบราณหลากหลา

นักวิทย์..พบสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายสาหร่ายเซลเดียวและจุลินทรีย์ลึกลงไปใต้ดิน อายุ830ล้านปี คาดว่าอาจจะช่วยในการค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร

รูปภาพ
นักวิทย์..พบสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายสาหร่ายเซลเดียวและจุลินทรีย์ลึกลงไปใต้ดิน อายุ830ล้านปี คาดว่าอาจจะช่วยในการค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ลึกลงไปใต้พื้นโลกราวๆ 1.5 กิโลเมตร ในพื้นที่แถบประเทศออสเตรเลีย นักวิทยาศาสตร์ได้เก็บตัวอย่างแกนกลางคริสทัลหินเกลืออายุร่วม 830 ล้านปี ขึ้นมาจากชั้นหินของมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก พวกเขาพบว่าในแกนหินนั้น ยังมีสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวชนิดหนึ่งหลับใหลอยู่ และมันก็อาจจะยังมีชีวิตอยู่ พร้อมที่จะตื่นขึ้นมาแพร่พันธุ์ทุกเมื่อที่มีโอกาสเสียด้วย โดยสิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในครั้งนี้ มีรูปร่างคล้ายสาหร่ายเซลล์เดียว และจุลินทรีย์ที่เรียกกันว่า “โพรแคริโอต” ซึ่งเจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้ ก็มีเชื่อเสียงเรื่องความอึดสามารถอยู่รอดได้เป็นร้อยล้านปีในผลึกเกลืออยู่แล้วด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่ามันอาจจะเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเก่าแก่ตัวนี้ก็อาจจะยังมีชีวิตอยู่เช่นกัน เพราะตัวอย่างหินที่พวกเขาได้มาไม่มีร่องรอยการสลายตัวที่มีนัยสำคัญใดๆ มันจึงเป็นไปได้ว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวดังกล่าวจะเข้าสู่สภาวะระงับการทำงานของร่างกาย แต่ยังถือว่ามีชีวิตอยู่ “เป็น