เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้นและขาดการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้นและขาดการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมเสียนำพาไปสู่ขยะอิเล็กทรอนิกส์และยิ่งทำให้ประเทศที่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและสาธารณาสุขจากขยะมีปัญหามากขึ้น สงสารพิศาลตะกั่วจะขยะอิเล็กทรอนิกส์ทำให้สุขภาพร่างกายของคนที่ได้รับสารอ่อนแอลงและเป็นโรคร้ายโรคภัยต่างๆอีกมากมาย


ขยะอิเล็กทรอนิกส์ อีกปัญหาขยะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญ เหตุเมืองพัฒนา และผู้คนเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น จนทำให้ความต้องการในการซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รายงานจาก United Nations University เผยว่า 

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2021 ปีเดียวอยู่ที่ 12.3 ล้านเมตริกตัน 


มากไปกว่านั้น ยังมีเรื่องของการนำเข้าขยะที่ผิดกฎหมายและการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปัญหาที่ทำให้บางประเทศอย่างเช่น ไทย เวียดนาม และฟิลลิปปินส์กลายเป็นที่ทิ้งขยะสำคัญ ไม่ใช่แค่ขยะจากภายนอกประเทศ แต่ภายในประเทศเองก็ยังมีการทิ้งที่ไม่ถูกต้อง ยิ่งทำให้ประเทศที่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและสาธารณาสุขจากขยะมีปัญหามากขึ้น 

ยกตัวอย่างประเทศไทย จากข้อมูลของกรมมลพิษปี 2021 ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมี 435,187 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 65 ของของเสียอันตรายทั้งหมด) และมีการกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 20% ส่วนที่เหลือถูกนำไปกองรวมกับขยะมูลฝอยอื่นๆ เพื่อรอการฝังกลบ หรือมีบางส่วนถูกกระจายไปยังร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เหมาะสมนี้อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย โดยสารอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โลหะหนัก เมื่อนำไปฝังกลบสารเคมีจะปนเปื้อนในดิน แหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน 


สารพิษจะเข้าสู่ระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เช่น ความเป็นพิษของตะกั่ว จะมีผลทำลายระบบประสาท ระบบโลหิต การทำงานของไต ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น ถ้านำไปเผาก็จะเกิดกลิ่นเหม็น และเกิดสารมลพิษทางอากาศต่างๆ ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

 คาร์บอนมอนอกไซด์ สารไดออกซิน และฟิวแรน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
.
ข้อมูลจากกรีนพีซเอเชียตะวันออกเผยว่า ดินและน้ำที่ได้มาจากพื้นที่ใกล้โรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองไทยมีปริมาณสารพิษในระดับที่สูงมาก โดยเฉพาะดินที่ได้จากโรงงานรีไซเคิลที่ไม่ได้มีการจัดการที่ดี ปริมาณตะกั่วในดินเพิ่มขึ้น 19 เท่ากว่าปริมาณปกติ
.
ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเอเชียตะวันออกเชียงใต้เลยมากกว่าแค่ปัญหาการทิ้งขยะปกติ  แต่มันยังรวมถึงปัญหาร้อยแปดที่เชื่อมโยงกัน ทั้งเรื่องการนำเข้าผิกกฎหมายไปจนถึงระบบการจัดการที่ไม่ดี กรณีนี้ต้องมีการตอบรับที่รอบด้าน 

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเข้าร่วมรับผิดชอบ ตั้งแต่รัฐบาลไปจนถึงประชาชน และปัญหานี้ยังหมายถึงการแก้ไขรอบด้านอย่างเร่งด่วนที่ไม่ใช่แค่จัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้น แต่หมายถึงการป้องกันไม่ให้เกิดขยะที่ไปจบตามหลุมฝังกลบอย่างนี้อีก 

นโยบายที่น่าสนใจที่น่าเอามาใช้ได้คือหลักการ Extended Producer Responsibility (EPR) ที่ขยายความรับผิดชอบไปยังผู้ผลิต 

ทั้งในเรื่องของการออกแบบ การกระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวลรวม การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการบำบัดสิ่งแวดล้อม นโยบายนี้เริ่มแล้วในสิงคโปร์ในปี 2021 และก่อนหน้านี้ที่สวีเดนและเดนมาร์ก ที่ใช้นโยบายและสามารถนำขยอิเล็กทรอนิกส์ไปรีไซเคิลได้ 52% และ 43% ตามลำดับ


อีกเรื่องคือการจัดการให้โรงงานรีไซเคิลมีมาตรฐาน เพื่อที่จะมั่นใจว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกจัดการอย่างปลอดภัย ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ในส่วนของผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้เองก็สามารถร่วมแก้ปัญหาได้ด้วยการออกแบบให้อุปกรณ์คงทน อยู่ได้นาน และสามารถเอาไปรีไซเคิลได้ง่าย 

โดยยึดหลักหมุนเวียน อย่างตอนนี้ก็มีแบรนด์ Fairphone ที่ออกโทรศัพท์ที่เมื่อมีปัญหา ผู้ใช้สามารถส่งซ่อมและเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ หรือถ้าชิ้นส่วนไหนล้าหลัง ไม่ทันสมัยต่อเทคโนโลยีใหม่ก็เปลี่ยนได้เช่นกัน อย่างนี้ลูกค้าก็ไม่จำเป็นต้องซื้ออะไรใหม่ ๆ เสมอ 




การให้ความรู้ประชาชนก็สำคัญ ที่ฟิลิปปินส์ก็มีโครงการ E-Waste Race ที่ได้เข้าไปให้โรงเรียนแข่งกันเก็บขยะและทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบ นี่จะทำให้นักเรียนมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย 
 
รายงาน  Global E-waste Monitor 2020 ของสหประชาชาติเผยว่า ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกจะพุ่งสูงขึ้นไปถึง 74 ล้านเมตริกตัน ภายในปี 2030 ด้วยเหตุนี้แล้วทั่วโลก โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นแหล่งรับขยะต้องออกนโยบายที่แข็งแรงมากขึ้นที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างรัดกุม 
.
ที่มา
https://kr-asia.com/e-waste-southeast-asias-growing-environmental-concern

https://ewastemonitor.info/gem-2020/ 

https://www.onep.go.th/e-waste-ขยะใกล้ตัวที่รอการแก้/#:~:text=โดยปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ของ,ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ 

https://www.greenpeace.org/thailand/story/18369/plastic-infographic-extended-producer-responsibility/

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติความเป็นมาของเครื่องล้างจาน ที่มีมากว่า 125 ปี

มิจฉาชีพชายที่สวมรอยเป็นหมอในโรงพยาบาลจนกลายเป็นดาว TikTok

ภัยพิบัติแห่งสนามบิน Tenerife สายการบิน: KLM Royal Dutch Airlines และ Pan American World Airways