ย้อนเวลาหาอดีต เมืองเก่าผิงเหยา เมืองเก่า สมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง..ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองให้เป็นมรดกโลก

ย้อนเวลาหาอดีต เมืองเก่าผิงเหยา เมืองเก่า สมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง..ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองให้เป็นมรดกโลก

เมืองเก่าผิงเหยาเมืองโบราณที่ผ่านยุคสมัยอดีตจนมาถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงมากนัก  ยังคงสภาพบ้านเมืองในอดีตและบ้านเก่าๆอีกมากมายเหมือนกับว่าเราเข้าไปที่เมืองนี้...กำลังย้อนเวลากลับไปหาอดีตนั่นเอง

ย้อนไปในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเลยละครับ..องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองผิงเหยาให้เป็นมรดกโลก

เข้ารายละเอียดของเมืองผิงเหยากันเลยดีกว่านะครับ

เมืองเก่าผิงเหยา (จีน: 平遥; พินอิน: Píngyáo) เป็นเมืองหนึ่งในมณฑลชานซี อยู่ห่างจากกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประมาณ 715 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองไท่หยวน เมืองหลวงของมณฑล 80 กิโลเมตร ในสมัยราชวงศ์ชิง ผิงเหยาเป็นศูนย์กลางทางการเงินของจีน มีชื่อเสียงมาจากกำแพงเมืองโบราณที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี และได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์

ผิงเหยายังคงมีโครงสร้างของเมืองเช่นเดียวกับสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ภายในเมืองและบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของโบราณสถานมากกว่า 300 แห่ง มีอาคารบ้านเรือนสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเกือบ 4,000 หลังได้รับการอนุรักษ์ให้คงลักษณะเช่นเดิม ถนนต่างๆยังคงมีลักษณะเช่นเดียวกับสมัยโบราณ

ใน ปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลจีนได้ประกาศให้เมืองผิงเหยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประจำชาติ และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองผิงเหยาให้เป็นมรดกโลก

กำแพงเมือง

กำแพงเมืองผิงเหยาสร้างขึ้นในปีที่ 3 ของรัชสมัยหงหวู่ฮ่องเต้ (พ.ศ. 1913) มีประตูเมืองอยู่ 6 ประตู โดยกำแพงด้านทิศเหนือและทิศใต้มีประตูด้านละ 1 ประตู

ส่วนด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีด้านละ 2 ประตู ทำให้กำแพงเมืองมีลักษณะเหมือนเต่า ตัวกำแพงสูงประมาณ 12 เมตร ความยาวโดยรอบ 6,000 เมตร นอกกำแพงมีคูเมืองกว้าง 4 เมตร และลึก 4 เมตร บนกำแพงมีป้อมปราการตั้งที่มุมกำแพงทั้งสี่ และหอสังเกตการณ์ 72 หลัง

👉🏿เมื่อ พ.ศ. 2547 กำแพงเมืองด้านทิศใต้ส่วนหนึ่งพังลง แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมจนเรียบร้อย ขณะที่กำแพงส่วนอื่นๆยังคงทนแข็งแรงอยู่ ถือได้ว่าเป็นกำแพงเมืองโบราณที่ยังสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ทำให้กำแพงเมืองนี้เป็นจุดเด่นที่สำคัญในเมืองมรดกโลกแห่งนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องเล่าจากหอยดึกดำบรรพ์และหอยโบราณในประเทศไทย

"นายลี กวน ยู"- ประกาศชัดในพินัยกรรมให้ “รื้อบ้าน”มรดกตกทอดที่เขาได้รับมาจากพ่อ-แม่มาอยู่อาศัย โดยให้รื้อทิ้งไปเลยหลังจากเขาตายเพื่อไม่ให้บ้านหลังนั้น”ขัดขวางความเจริญ” ของประเทศสิงคโปร์

ภาพถ่ายปริศนางูไททันโอโบอา