การวิจัยและศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า หมึกนั้นมีการหลับ 2 สเตจเช่นเดียวกับมนุษย์

การวิจัยและศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า หมึกนั้นมีการหลับ 2 สเตจเช่นเดียวกับมนุษย์คือ 1. Non-REM Sleep และ 2. REM Sleep และอาจมีความฝัน


ถึงแม้ว่ามนุษย์เพื่อน 8 หนวดจะวิวัฒนาการแยกกันมานานตั้งแต่ 500 ล้านปีที่แล้ว แต่งานวิจัยการนอนหลับของหมึกก็ยังคงแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของทั้งสองสิ่งมีชีวิต การศึกษานี้ศึกษาจากหมึกสปีชีส์ Octupus insularis 4 ตัวจากอ่าวทะเลประเทศบราซิล 

เหล่านักวิทยาศาสตร์ทำการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร iScience พวกเขาทำการศึกษาโดยการบันทึกภาพของหมึกทั้งหมดในขณะที่พวกมันหลับในถังน้ำ  และเช็คการนอนหลับ โดยการฉายภาพปูที่เป็นอาหารของมันเพื่อดูปฎิกิริยาตอบสนองว่าพวกมันหลับจริง ๆ หรือไม่ 

นักวิจัยพบการเปลี่ยนแปลงของสีผิวบนตัวหมึก ในขณะช่วง Non-REM หรือ “quiet” sleep สีผิวของมันจางซีดลงและรูม่านตาแคบลง การเคลื่อนไหวต่าง ๆ นั้นน้อยไปจนนิ่ง บางครั้งก็ขยับตัวอย่างนุ่มนวลและช้า ๆ แต่ในขณะช่วง REM หรือ “active” sleep สีผิวหนังของพวกมันเปลี่ยนเป็นสีที่เข้มขึ้นและรูม่านตาขยับอย่างรวดเร็ว และมีการขยับตัวไปมาเหมือนกับสเตจการนอนของมนุษย์ในสเตจ REM สามารถเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อดูวีดีโอ (link youtube ด้านล่าง)


นักวิจัยค่อนข้างมั่นใจว่ากระบวนการหลับนี้เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการหลับของมนุษย์ เดิมนักวิทยาศาสตร์มักจะคิดว่ามีแค่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกเท่านั้นที่มีช่วงการหลับหลายช่วง (เหมือนที่น้องแมวน้องหมาที่บ้านของเราละเมอเวลาหลับ) แต่งานวิจัยใหม่ ๆ เริ่มเผยว่าก็มีสัตว์เลื้อยคลาน และพวกหมึกที่มีการนอนแบบ Non-REM และ REM แม้หมึกจะมีโครงสร้างสมองที่ต่างจากมนุษย์มาก มันก็ยังมีฟังค์ชั่นบางอย่างที่คล้ายกับสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างเช่น การแก้ปัญหา และความสามารถในการหยั่งรู้อะไรที่ซับซ้อน 

แล้วสรุปหมึกนั้นฝันได้ไหมในเมื่อมีช่วง REM ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ฝันในการนอนหลับ? แน่นอนว่านักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถไปถามหมึกได้ตรง ๆ “เฮ้หมึก นอนหลับฝันดีไหม?” เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถตอบได้ แต่กระบวนการเปลี่ยนแปลงบนร่างกายของมันอาจแสดงให้เห็นว่ามันอาจกำลังฝันอยู่ก็ได้

ซึ่งถ้าฝันจริง จากงานวิจัย เวลาของช่วง quiet sleep อยู่ที่ประมาณ 6 นาที ส่วน active sleep นั้นมีอยู่ประมาณ 40 วินาที ซึ่งวงจรการนอนทั้งสองสเตจนี้กินเวลาประมาณ 30-40 นาทีต่อรอบ Sidarta Ribeiro and Sylvia Medeiros สองผู้นำการวิจัยเผยว่า “ถ้าหมึกฝัน มันไม่น่าฝันอะไรที่ซับซ้อนเหมือนมนุษย์ ช่วงแอคทีฟของหมึกกินเวลาสั้น แค่ไม่กี่วิ - 1 นาที ดังนั้นถ้าในช่วงนี้หมึกฝัน ภาพที่ออกมาจากเป็นเหมือนคลิปวิดีโอสั้น ๆ หรือแม้แค่รูป GIFs”

ยังมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับสมองที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบได้แม้แต่ตัวสมองของนุษย์เอง เพราะฉะนั้นสิ่งที่นักวิจัยทำได้คือศึกษามันไปเรื่อย ๆ เพื่อที่เราจะเข้าใจทั้งหมึกและตัวเราเองได้มากขึ้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มิจฉาชีพชายที่สวมรอยเป็นหมอในโรงพยาบาลจนกลายเป็นดาว TikTok

ประวัติความเป็นมาของเครื่องล้างจาน ที่มีมากว่า 125 ปี

ภัยพิบัติแห่งสนามบิน Tenerife สายการบิน: KLM Royal Dutch Airlines และ Pan American World Airways