กรุงเทพฯ จมน้ำ แน่ใจหรือ ว่าเราจะมีโอกาสเห็นการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล
ค้นหา
สาเหตุที่ 2 ธารน้ำแข็งละลายเพิ่มขึ้น ซึ่ง ธารน้ำแข็ง (glacier) คือ มวลน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสะสมตัวของหิมะบนแผ่นดิน และเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำแข็งภายใต้อากาศที่หนาวเย็นเพียงพอที่จะรักษาสภาพไม่ให้น้ำแข็งละลายในฤดูร้อน ซึ่งในโลกใบนี้ สถานที่ที่จะเกิดธารน้ำแข็งได้ มีอยู่ 2 แบบ แยกออกตามกระบวนการเกิด ได้แก่
1) ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) เป็นธารน้ำแข็งที่เกิดบนพื้นราบทั่วไป แต่มีอุณหภูมิต่ำพอต่อการเกิดธารน้ำแข็ง ซึ่งที่ราบที่หนาวพอจะทำให้ได้ธารน้ำแข็งก็คือขั้วโลกทั้งเหนือและใต้ (95% ของธารน้ำแข็งทั่วโลก) เพราะถึงแม้จะเป็นที่ราบที่ควรจะมีอุณหภูมิปกติ แต่ด้วยความที่ขั้วโลกห่างจากดวงอาทิตย์มากพอ ก็เลยหนาวพอให้เกิดธารน้ำแข็ง เรียกว่า หนาวได้เพราะความห่าง (จากดวงอาทิตย์)อันที่จริงก็มีกลุ่มวิจัยหลายสำนักที่เคยลองคำนวณดูว่า ถ้าธารน้ำแข็งที่มีอยู่ทั้งหมดทั่วโลกเกิดละลาย น้ำทะเลจะสูงแค่ไหน ผลการคำนวณสรุปว่าอาจทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 216 ฟุต หรือเกือบ 66 เมตร ซึ่งนั่นก็เป็นแค่กรณีรุนแรงเลวร้ายสุดๆ ที่นักวิทยาศาสตร์แค่นึกอยากจะตั้งโจทย์ปัญหา ขึ้นมาหาคำตอบกันเล่นๆ เพราะโอกาสจะเกิดแบบนั้นแทบจะไม่มี โดยเฉพาะในชาตินี้ เพราะกระบวนการที่จะทำให้น้ำแข็งเหล่านี้ละลายแบบหมดเกลี้ยงได้ ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก
ในกรณีของธารน้ำแข็งพื้นทวีป ที่อยู่ตามขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ โอกาสที่จะทำให้น้ำแข็งตามขั้วโลกละลายได้ก็คือ
1) โลกขยับเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ซึ่งก็เป็นจินตนาการเพื่อให้เห็นภาพล้วนๆ หรือ
2) เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกพอที่จะให้โลกร้อนขึ้นพอสมควร ซึ่งอันนี้ก็น่าจะแล้วแต่มนุษย์อย่างพวกเราจะกำหนด เพราะถ้ายังทำทุกอย่างให้เอื้อกับการเกิดเรือนกระจก แนวโน้มการละลายของน้ำแข็งก็จะยิ่งสูงขึ้น หรือ
สาเหตุที่ 3 อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น อีกหนึ่งสาเหตุที่มีโอกาสทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นคือ การที่อุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นซึ่ง อุณหภูมิของน้ำทะเลจะสูงขึ้นได้ ก็ต้องเกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ส่งผ่านพลังงานความร้อนมายังโลกและโลกไม่สะท้อนกลับหรือสะท้อนกลับได้น้อยลงจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน
หลังจากที่เรารู้จัก ธารน้ำแข็ง (glacier) มาก่อนหน้านี้แล้ว ก่อนอื่นขอแนะนำน้ำแข็งจากธรรมชาติอีกชนิดที่เกิดขึ้นและพบเห็นได้บนโลก น้ำแข็งทะเล (sea ice) คือ แผ่นน้ำแข็งบางๆ ที่เกิดจากผิวน้ำทะเลแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็ง เกิดแถวๆ ขั้วโลก ซึ่งจะแตกต่างจาก ธารน้ำแข็ง ที่เกิดจากการหลอมละลายและเชื่อมประสานกันของมวลหิมะที่ตกลงมาจากฟ้า และทับถมกันเป็นชั้นหนา
เมื่อเปรียบเทียบในพื้นที่เท่าๆ กัน น้ำแข็งทะเลจะบางกว่าธารน้ำแข็ง จึงมีปริมาตรของน้ำแข็งน้อยกว่าธารน้ำแข็งมาก และด้วยน้ำแข็งทะเลก็อยู่และเป็นส่วนหนึ่งของระดับน้ำทะเลอยู่แล้ว การหลอมละลายของน้ำแข็งทะเล จึงไม่มีนัยสำคัญถึงขนาดทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะก็เหมือนกับน้ำแข็งในแก้วละลาย น้ำก็ไม่ได้สูงขึ้นหรือล้นแก้ว ไม่เหมือนกับธารน้ำแข็งที่ละลายจากบนบก แล้วน้ำไหลเติมลงมาในมหาสมุทร
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่น้ำแข็งทะเลกินพื้นที่กว้างแถบขั้วโลก ปกคลุมประมาณ 7% ของผิวโลก และประมาณ 12% ของมหาสมุทร ในสภาวะปกติ น้ำแข็งทะเลจึงเป็นตัวช่วยสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ กระเด้งกลับไปไม่ให้ถูกเก็บไว้กับโลก ในรูปของอุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเล
แต่ก็ไม่รู้ว่าเพราะวัฏจักรทางธรรมชาติเองหรือกิจกรรมของมนุษย์ มองเผินๆ ในรอบ 30-40 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่าพื้นที่ปกคลุมของน้ำแข็งทะเลลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเวลาที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานความร้อนมาให้ โลกเก็บไว้กับตัวได้ดีขึ้น จากเดิมที่มีน้ำแข็งสะท้อนเก็บไว้แค่ 10% แต่เมื่อน้ำแข็งทะเลหายไป โลกจะเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์เอาไว้มากถึง 94% ในแต่ละพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น มวลน้ำจะขยายตัวขึ้น และระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น เป็นเงาตามตัว
จากการพิจารณาปัจจัยการทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นทุกปัจจัยเท่าที่จะหามาได้ อีกหนึ่งข้อเท็จจริงที่นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบในปัจจุบันจากการเฝ้าติดตามและเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 บ่งชี้ว่าโลกของเรามีการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลด้วยอัตรา 3.4 มิลลิเมตร/ปี (https://climate.nasa.gov) ซึ่งถ้าทอนกลับไปกลับมาก็พบว่า อีก 50 ปี น้ำทะเลจะสูงขึ้น 17 เซนติเมตร และอีก 100 ปี เพิ่มขึ้น 34 เซนติเมตร ถ้าเรายืนอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นนั้นคงที่ต่อเนื่องไป
เรียกว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) ซึ่งเป็นการสะสมตัวของตะกอนขนาดเล็ก นุ่มนิ่ม นอกจากนี้ใต้พื้นที่ยังมีชั้นน้ำใต้ดินที่ไหลลงมาจากพื้นที่ข้างเคียงของที่ราบลุ่ม ทำให้พื้นที่ดังกล่าวในสภาพปกติทรงตัวอยู่ได้ อันเนื่องมาจากการตกสะสมตัวของตะกอนแบบหลวมๆ และพยุงปริมาตรเอาไว้ด้วยน้ำที่แทรกอยู่ระหว่างเม็ดตะกอน
ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2526 พื้นที่แถบกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก็มีการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ตามปกติเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย แต่ที่ไม่เหมือนพื้นที่อื่นๆ คือ ผลจากการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้อย่างต่อเนื่องในอดีต ทำให้พื้นที่ราบลุ่มภาคกลางเกิดการทรุดตัวอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง คล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นในพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี พ.ศ. 2468-2518 ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2526 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ กำหนดให้มีการควบคุมและงดเว้นการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ในพื้นที่ รวมทั้งให้มีการติดตามสำรวจระดับการทรุดตัวของพื้นดิน ซึ่งรับผิดชอบโดยกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม
ผลจากการสำรวจตลอด 30 กว่าปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2554 พบว่า พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีการทรุดตัวจริง แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ระหว่าง 10 -100 เซ็นติเมตร โดยมีอัตราการทรุดตัวมากกว่า 1 เมตร ในพื้นที่บางกะปิ และจังหวัดสมุทรปราการ และทรุดน้อยลงตามลำดับเมื่อไกลออกไปจากรุงเทพมหานคร บ่งชี้ว่าพื้นที่เมืองมีอัตราการทรุดตัวสูงสุด
หรือถ้าพิจารณาอัตราการทรุดตัวตามเวลา นับตั้งแต่ พ.ศ.2521-2554 พบว่าช่วงแรกมีการทรุดตัวสูง (ประมาณ 7 เซนติเมตร/ปี) และอัตราการทรุดตัวลดลงตามลำดับ นั่นแสดงว่ามาตรการเกี่ยวกับการงดใช้น้ำใต้ดินถือว่าได้ผลพอสมควร แต่ก็ยังมีการทรุดตัวของพื้นที่อยู่
ผลความคร่าวบอกว่า ในอีก 50 ปีข้างหน้า ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 0.17 เมตร ส่วนพื้นที่มีโอกาสทรุดตัวลงอีก 1.5 เมตร ดังนั้นอีก 50 ปีข้างหน้า ความต่างระหว่างระดับน้ำทะเลและความสูงของพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะลดลง 1.67 เมตร
ส่วนในอีก 100 ปีข้างหน้า ระดับน้ำทะเลจะส่งขึ้น 0.34 เมตร และพื้นที่มีโอกาสทรุดตัวลง 3.0 เมตร ทำให้หากเชื่อว่าถ้าอัตราทุกอย่างนิ่งๆ เหมือนปัจจุบัน อีก 100 ปีข้างหน้า ความต่างระหว่างระดับน้ำทะเลและความสูงของพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะลดลง 3.34 เมตร