จุลินทรีย์โบราณ ที่หลับอยู่ใต้ทะเล 101 ล้านปี ถูกปลุกชีพจนเริ่มเคลื่อนไหวได้อีกครั้ง

เมื่อช่วงต้นปี 2020 ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโรดไอแลนด์ ได้ทำการปลุกชีพ “จุลินทรีย์โบราณ” (ancient microorganism) ให้ตื่นขึ้นจนเกิดการเคลื่อนไหวได้สำเร็จ หลังพบพวกมันหลับไหลอยู่ในตัวอย่างก้อนตะกอนที่เก็บมาจากก้นมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เมื่อปี 2010 ณ ความลึก 5,000 เมตร จากการตรวจสอบพบว่าพวกมันมีอายุมากถึง 101 ล้านปีเลยทีเดียว

ค้นหา
Custom Search
👉จุลินทรีย์โบราณ ในก้อนตะกอน การปลุกชีพในครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่และยืนยันโดยการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ซึ่งในตอนแรกที่ส่องพบ พวกมันอยู่ในสภาพแน่นิ่งไร้การเคลื่อนไหว ทีมวิจัยจึงเชื่อว่ามันน่าจะตายไปแล้ว เพราะสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยนานนับร้อยล้านปีไม่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต (เนื่องจากแทบไม่มีอาหาร) จะมีก็เพียงออกซิเจนน้อยนิดเท่านั้น

แต่ด้วยความสงสัย และเสียดายที่อุตส่าห์บ่มเชื้อจุลินทรีย์ไว้นานถึง 557 วัน ยูกิ โมโรโนะ 
(Yuki Morono – หัวหน้าทีมวิจัย) จึงทดลองป้อนคาร์บอนและไนโตรเจนที่เป็นอาหารหลักของพวกมัน ซึ่งหลังผ่านไป 68 วัน ปรากฏว่า เหล่าจุลินทรีย์ฟื้นขึ้นมามีชีวิตอีกครั้ง และได้แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนขึ้นมามากกว่า 7,000 เซลล์ (เป็นเท่าตัวของจำนวนเดิมที่มี)

👉ตะกอนส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาทดลอง “ผมไม่อยากเชื่อเลยว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้สามารถเอาชีวิตรอดจากสภาพแวดล้อมสุดขีดแบบนั้นได้ แม้ตอนนี้ข้อมูลที่เรามีจะน้อยนิด แต่ผมเชื่อว่าพวกมันเลือกที่จะไม่เคลื่อนไหวเพื่อเก็บรักษาพลังงาน เหมือนการจำศีลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั่นเอง ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ช่วยยืนยันแนวคิดที่ว่า ไม่ควรมีการระบุอายุสำหรับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอีกต่อไป” โมโรโนะ กล่าว

ทั้งนี้ยังไม่ทราบว่าจุลินทรีย์อายุ 101 ล้านปี เหล่านี้มีชีวิตรอดมาได้อย่างไร ทำให้ทีมงานยังต้องทำการศึกษาและวิจัยต่อไป สุดท้ายโมโรโนะ กล่าวทิ้งท้ายว่า “มหาสมุทรนั้นควรค่าแก่การสำรวจ ผมเชื่อว่ามันจะต้องมีสิ่งที่น่าทึ่งซ่อนอยู่อีกมากมาย” 

👉ภาพการแพร่กระจายของเหล่าจุลินทรีย์โบราณ หลังจากฟื้นตัวภายใน 68 วัน โดยการค้นพบลักษณะนี้ ยังช่วยจุดประกายสมมุติฐานที่ว่า “บนดาวอังคารก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตลักษณะแบบนี้อาศัยอยู่เช่นกัน” เพราะในอดีตดาวอังคารก็เคยถูกปกคลุมไปด้วยมหาสมุทร เมื่อราว 4,000 ล้านปีก่อน พื้นที่มากกว่า 19% ของดาวอังคารเคยถูกปกคลุมด้วยผืนน้ำมหาสมุทร ก่อนที่กาลเวลาและความกดอากาศจะทำให้ของเหลวชนิดนี้กว่า 87% ระเหยออกสู่ชั้นบรรยากาศ และไม่แน่อาจหลงเหลือสิ่งมีชีวิตที่ อึด ถึก ทน แบบนี้อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์สีแดงก็เป็นได้

😩รู้หรือไม่ ? ร่างกายคนเราก็มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่เช่นกัน 

นั่นคือ จุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส (lactobacillus) ในกลุ่มที่เรียกว่า “โปรไบโอติคส์” (อาศัยอยู่ตามทางเดินอาหาร) ซึ่งพวกมันไม่ได้อาศัยอยู่เฉย ๆ นะ เพราะยังช่วยปรับสมดุลในร่างกายของคนและสัตว์ที่พวกมันอาศัยอยู่ด้วย ทั้งยกระดับภูมิคุ้มกันโรค ช่วยเสริมสร้างระบบการย่อยและการขับถ่าย เนื่องจากถ้าเราแข็งแรงพวกมันก็มีที่อยู่อาศัยต่อไปนั่นเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มิจฉาชีพชายที่สวมรอยเป็นหมอในโรงพยาบาลจนกลายเป็นดาว TikTok

ประวัติความเป็นมาของเครื่องล้างจาน ที่มีมากว่า 125 ปี

ภัยพิบัติแห่งสนามบิน Tenerife สายการบิน: KLM Royal Dutch Airlines และ Pan American World Airways