การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาจทำให้กรุงเทพมหานครจมน้ำได้

กรุงเทพมหานคร ประสพอุทกภัยอยู่บ่อยๆ การวางแผนเขตนาครไม่ดี และการปล่อยให้เขตกรุงเทพมหานครขยายออกไป โดยขาดความระมัดระวังทำให้ปัญหาดังกล่าวหนักหนายิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าว VOA รอน คอร์เบน          (Ron Corben) รายงานจากกรุงเทพมหานครว่า ในท้ายที่สุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาจทำให้กรุงเทพมหานครจมน้ำได้
พายุหน้าฝนที่มาล่ากว่าปกติ ทำให้ฝนตกหนักทั่วเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้การจราจรติดขัด และเกิดน้ำท่วมตามพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว ตามปรกติ น้ำจะระบายหมดไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องสภาพภูมิอากาศ และนักวางผังเมืองเตือนว่าอุทกภัยในอนาคต อาจก่อให้เดความเสียหายที่ยั่งยืน เนื่องจากการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
👉กลุ่มอนุรักษ์ WWF เตือนว่า กรุงเทพมหานคร กรุงดัคคะ กรุงมนิลา นครกัลกัตตา กรุงพนมเปญ กรุงโฮจิมินห์ และนครเซี่ยงไฮ้นั้นต่างล่อแหลม ต่อการประสพอุทกภัยครั้งมโหฬาร ส่วนคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า กรุงเทพมหานครเป็นแห่งหนึ่งในบรรดานครที่สำคัญ 20 แห่ง ที่เสี่ยงต่อการจมน้ำเนื่องจากการที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆ นี้
ขณะนี้ คุณสมิธ ธรรมสาโรจน์ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นผู้ที่เตือนว่า แนวชายฝั่งของประเทศไทยจะโดนคลื่นยักษ์สึนามิโหมกระหน่ำ แต่ไม่มีใครฟัง จนกระทั่งเกิดคลื่นยักษ์สึนามิทางมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งคร่าห์ชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากเมื่อเดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช 2547 นั้นกำลังเตือนว่าระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นสูงขึ้นนี้ อาจทำให้กรุงเทพมหานครจมน้ำได้ภายในช่วง 20 ปีข้างหน้า
ท่านอดีตอธิบดีกล่าวว่า ประชาชนสนใจประเด็นปัญหานี้น้อย และถ้าไม่มีการดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว น้ำอาจท่วมกรุงเทพมหานครเป็นการถาวร
ท่านอดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาสมิธกล่าวไว้ตอนนี้ว่า "เราจะเสียกรุงเทพมหานครไปตลอดกาล บางคนพยายามพูดปลอบใจว่า ไม่ต้องกลัวเรื่องนั้น เพราะเราย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่อื่นเสียก็หมดเรื่อง แต่การทำอย่างนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ หรอก การย้ายเมืองหลวงที่มีประชากร 10 ล้านคนนั้น เราต้องย้ายประชาชน มหาวิทยาลัยหลายแห่ง สถานที่ราชการหลายแห่ง อาคารสำนักงาน โรงพยาบาลและอะไรต่อมิอะไรไปด้วย แล้วสถานที่ที่ทรงความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกล่ะ เราจะย้ายทุกอย่างไปให้หมดได้อย่างไร? มิฉนั้นก็จมอยู่ใต้น้ำแน่" ท่านอดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาสมิธ ธรรมสาโรจน์แนะนำให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องการสร้างเขื่อนกั้นน้ำยาว 80 กิโลเมตรตรงบริเวณปากลุ่มน้ำ เจ้าพระยา เพื่อรับภาวะที่ระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ และท่านกะประมาณว่า จะต้องลงทุนทำเรื่องนี้เป็นเงินสามพันกว่าล้านเหรียญสหรัฐ
การที่โลกร้อนขึ้น มีส่วนทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นเนื่องจากการละลายของน้ำแข็งที่ขั้วโลก และการที่เขตน้ำอุ่นขยายวง ประเด็นปัญหานี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่จะนำมาพิจาณากันในการเจรจา เกี่ยวเรื่องสภาพภูมิอากาศโลกซึ่งจะมีขึ้น ณ กรุงโคเปนเฮเก้นในเดือนหน้า
คุณสมิธ ธรรมสาโรจน์ และผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ หวั่นเกรงว่าระบบต่างๆ ของกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบกำแพงกั้นน้ำท่วม สถานีสูบระบายน้ำ สระเก็บน้ำ และทางกระแสน้ำล้น ที่อยู่ห่างขึ้นไปทางเหนือนั้นอาจจะยังไม่พอ เขตกรุงเทพมหานครขยายออกไปอย่างน่าตื่นตะลึง โดยคลุมไปถึงเขตพื้นที่ลุ่มน้ำในระยะ 30ปีที่ผ่านมา
อาจารย์ ดนัยแห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การวางผังเมืองที่ไม่ดีและการพัฒนาของเขตนาคร ทำให้คลองหลายสายโดนถม เพื่อทำถนนหนทางและการพัฒนาอื่นๆ
อาจารย์ดนัยกล่าวไว้ตอนนี้ว่า " ทางการมองไม่เห็นความสำคัญอย่างยิ่งยวด ของการที่คลองเป็นทางระบายน้ำ เมื่อทางการพูดเกี่ยวกับเรื่องน้ำและการทำให้น้ำเต็มคลอง คลองส่วนมากหายสูญไปแล้ว เราไม่มีสิ่งที่เคยใช้เป็นที่ระบายน้ำ ออกจากพื้นที่หรือแม้แต่ที่ๆ รับน้ำไว้ได้ชั่วระยะหนึ่ง "อาจารย์ดนัยกล่าวด้วยว่า ผู้วางผังเมืองจะต้องพิจารณา เรื่องที่จะทำให้มีระบบคูคลองใหม่ และว่ากรุงเทพมหานคร ยังเผชิญกับภัยคุกคามที่ว่า เขตชายฝั่งจะโดนระดับน้ำที่สูงขึ้นและการโหมกระหน่ำ ของพายุเซาะพังทะลายไปด้วย
👉คุณพิจิตต์ รัตกุล อดีตผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ผู้ต้องแก้ปัญหาน้ำท่วมสมัยที่เป็นผู้ว่าการนั้นกล่าวว่า การที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกอปร์กับน้ำเหนือที่ไหลบ่าลงมา จะทำให้กรุงเทพมหานครย่ำแย่เลยทีเดียว
แต่วิศวกรของกรุงเทพมหานครยังคงมั่นใจว่า ระบบควบคุมอุทกภัยที่มีอยู่นั้น จะพิทักษ์กรุงเทพมหานครต่อไปได้อีกหลายปี วิศวกรเหล่านั้นกล่าวว่า จะศึกษาประเด็นนี้ต่อไป แต่พวกเขาจะต้องมีหลักฐานแน่ชัดเสียก่อนว่า จะต้องก่อสร้างอะไรเพิ่มเติม ก่อนที่จะของบ สำหรับการควบคุมอุทกภัยเพิ่มเติมจากกรุงเทพมหานคร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มิจฉาชีพชายที่สวมรอยเป็นหมอในโรงพยาบาลจนกลายเป็นดาว TikTok

ประวัติความเป็นมาของเครื่องล้างจาน ที่มีมากว่า 125 ปี

ภัยพิบัติแห่งสนามบิน Tenerife สายการบิน: KLM Royal Dutch Airlines และ Pan American World Airways