พบหลักฐานการผสมเกสรย้อนหลังไป 50 ล้านปี



ในไม่กี่ปีที่ผ่านมาอำพันจากพม่าอายุ 99 ล้านปีได้ให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์โลก นักบรรพชีวินวิทยาได้พบสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ติดอยู่ในก้อนอำพัน อย่างซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิล (fossil) หอยทากที่มีเนื้อเยื่ออ่อนถูกเก็บรักษาไว้ หรือพบขนนกแปลกๆ รวมถึงพบปีกไดโนเสาร์ และฟอสซิลลูกงูที่เก่าแก่ที่สุด

ล่าสุด มีการค้นพบแมลงปีกแข็งฝังอยู่ในก้อนอำพันอย่างสมบูรณ์ สวยงาม ส่วนขาของ มันเคลือบด้วยละออง เรณูของพืช นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา บลูมมิงตัน ในสหรัฐอเมริกา ร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาแห่มหาวิทยาลัยหนานจิง ในจีน 

ได้ใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตรถ่ายภาพ ก็พบว่าแมลงปีกแข็งในอำพันเป็นสายพันธุ์ใหม่ชื่อว่า Angimordella burmitina ทำหน้าที่ถ่ายละอองเรณู เมื่อตรวจสัณฐานวิทยาของละอองเรณู 62 เม็ด
ในอำพัน รูปร่างและโครงสร้างของละอองเรณูชี้ว่ามีการแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับแมลง 

ซึ่งมีแนวโน้มที่เมล็ดจะมาจากสายพันธุ์ดอกไม้กลุ่ม eudicots หรือกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่แท้ มีกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ กลีบในเป็นชั้นอยู่รอบเกสรดอกไม้ และเกสรเพศเมีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์พืชดอกที่พบมากที่สุด

👮นักวิจัยเผยว่า ซากอำพันนี้ถือเป็นตัวอย่างแรกของการผสมเกสรของแมลงที่เร็วที่สุด และผลักดันหลักฐานทางกายภาพของการผสมเกสรของแมลงที่เกิดขึ้นอย่างน้อยเมื่อ 50 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับชีวิตและการสืบพันธุ์ของพืชเมื่อ 99 ล้านปีที่แล้วในช่วงกลางยุคครีเตเชียส

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มิจฉาชีพชายที่สวมรอยเป็นหมอในโรงพยาบาลจนกลายเป็นดาว TikTok

ประวัติความเป็นมาของเครื่องล้างจาน ที่มีมากว่า 125 ปี

ภัยพิบัติแห่งสนามบิน Tenerife สายการบิน: KLM Royal Dutch Airlines และ Pan American World Airways